วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการบริหารยาแก่ผู้ป่วยในช่วงเดือนรอมฎอน2

ตัวอย่างการปรับยาในผู้ป่วยเบาหวานก่อนรอมฎอน--->ระหว่างรอมฎอน ผู้ป่วยที่รักษาโดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย---> ปรับและอาจลดเวลาการออกกำลังกาย และดื่มน้ำให้เพียงพอ การรับประทานยา Metformin(500mg) 1x3---> Metformin 2 เม็ด Iftar และ 1 เม็ด Suhur,,,,Metformin(500mg) 2x3--->Metformin 2 เม็ด Iftar 2 เม็ดก่อนนอน(ห่างกันอย่างน้อย3 ชั่วโมง) และ 2 เม็ดหรือ 1 เม็ด Suhur,,,,TZD (eg. Pioglitazone 30mg) 1x1 --->ไม่ต้องปรับขนาดยา แต่ให้รับประทานก่อนอาหารหนักช่วง Iftar,,,,Sulfonylureas Twice a day (eg.Glibenclamide, Glipizide, Gliclazide) 2x2--->ใช้ขนาดยาปกติในมื้อเปิดบวช(ก่อนอาหารมื้อหนักครึ่งชั่วโมง) และลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งในมื้อเช้ามืด 2 เม็ด Iftar และ 1เม็ด Suhur,,,,Sulfonylureas Onces daily (eg.Gliclazide30MR, Glimepiride 4mg)--->ควรให้ยาในมื้อเปิดบวชInsulin 30/70 eg. 30-0-20ให้ลดมื้อเย็นครึ่งหนึ่ง แล้วสลับเวลาฉีด eg. 10 units เช้ามืด และ 30units เปิดบวช การแนะนำยาที่ รับประ ทานวันครั้งจะช่วยเรื่องการรับประทานยาตรงตามคำแนะนำ(Compliants) ได้ดี และยาเบาหวานรับประทานที่มีขายในไทยปัจจุบันมีผลข้างเคียง Hypoglicemiaน้อยลง ราคาถูกลงด้วยเช่นกัน เช่นกลุ่ม Thiazolidinedione (eg. Pioglitazone 30 mg) สามารถรับประทานวันละครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ใช้ได้ในผู้สูงอายุ และผู้ที่ไตเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง (CrCl>4ml/min)โดยไม่ต้องปรับขนาดยา ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลว กลุ่ม Sulfonylureas ที่ออกฤทธิ์เนิ่น (eg. Gliclazide 30 mg MR, Glimepiride) สามารถรับประทานวันละครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ พบผลข้างเคียงด้านHypoglycemia<10%(Glibenclamide=10-22%, Glipizide=10-15%) ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในช่วงกลางคืน (nocturnal hypoglycemia) ได้ดี ใช้ได้ในผู้สูงอายุ , ไตเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง(CrCl>20ml/min) โดยไม่ต้องปรับขนาดยาลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น