วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Aplastic Anemia

โรคไขกระดูกฝ่อเป็นโรคที่เกิดจากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดได้น้อยลงหรือสร้างไม่ได้เลย ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะ pancytopenia เกิดขึ้น สาเหตุของการเกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับกลไกของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ การสัมผัสกับสารเคมีและยาบางชนิด การติดเชื้อไวรัสบางชนิด การได้รับรังสีในขนาดสูง
อาการทางคลินิก
ผู้ป่วยโรคนี้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดน้อยลง ดังนั้นจึงมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียเนื่องจากซีด มีจุดจ้ำเลือดออกตามตัว เลือดออกตามเยื่อบุต่างๆ เนื่องจากมีเกล็ดเลือดต่ำ อาการไข้มักเกิดจากการติดเชื้อซึ่งจะรุนแรงและลุกลามไปได้รวดเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยมีจำนวน neutrophil ต่ำ
การตรวจร่างกายจะพบว่าผู้ป่วยซีด มีจุดเลือดออกและจ้ำเลือดตามตัว อาจมีเลือดออกตามไรฟันและเยื่อบุต่างๆ จะไม่พบว่าผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองหรือตับม้ามโต ซึ่งแตกต่างจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว
เกณฑ์การวินิจฉัย
Peripheral criteria
Bone marrow criteria
1. hemoglobin < 10 g/dl
2. white blood cell count < 3,500 cell/mm3 or neutrophil count < 1,500 cell/mm3
3. platelet count < 50,000 cell/mm3
· Panhypoplasia or normocellularity with decreased megakaryocyte without abnormal cell infiltration or gross fibrosis from adequate bone marrow biopsy
ผู้ป่วยต้องมีผลตรวจเลือดที่เข้าได้กับ peripheral criteria อย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อ ร่วมกับการตรวจพบในไขกระดูกเข้าได้กับ bone marrow criteria จึงจะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคไขกระดูกฝ่อ
การวินิจฉัยแยกโรค
เมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะ pancytopenia ควรทำการตรวจร่างกายว่าผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต หรือมีอาการแสดงทางคลินิกของโรคตับเรื้อรังหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากการตรวจพบบางอย่างจะช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคได้ตั้งแต่แรก เช่น ผู้ป่วย acute leukemia มักมีต่อมน้ำเหลืองโต หรือตับม้ามโตร่วมด้วย
ผู้ป่วยโรคไขกระดูกฝ่อที่มีอาการช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป จำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคจากผู้ป่วยโรค paroxysmal noctunal hemoglobinuria และโรค myelodysplastic syndrome เนื่องจากมีอาการและอาการแสดงทางคลินิกที่คล้ายกัน แต่การตรวจ smear เลือดอย่างละเอียด รวมทั้งการตรวจดู buffy coat preparation จะช่วยให้สามารถแยกแยะโรคเหล่านั้นออกจากโรคไขกระดูกฝ่อได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. CBC และการตรวจไขกระดูก
2. Reticulocyte count เพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นโรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรงหรือไม่
3. FBS เพื่อประเมินผู้ป่วยก่อนให้การรักษาด้วย anabolic hormone หรือ corticosteroid
4. LFT เพื่อประเมินผู้ป่วยก่อนให้การรักษาด้วย anabolic hormone
5. Hepatitis profile เนื่องจากโรคไขกระดูกฝ่อบางรายอาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซึ่งจะมีพยากรณ์โรคแตกต่างจากผู้ป่วยอื่นๆ
6. HIV antibody เพื่อแยกโรคไขกระดูกฝ่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ออกไป นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคไขกระดูกฝ่อจำเป็นต้องได้รับเลือดบ่อยๆ จึงมีความจำเป็นต้องประเมินว่าผู้ป่วยได้รับเชื้อ HIV หรือไม่เป็นระยะ
7. Stool exam เพื่อตรวจว่าผู้ป่วยมีพยาธิ strongyloides stercoralis
การรักษา
1. การรักษาจำเพาะ
การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค
1.1 การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง
1.2 การให้ antilymphocyte globulin หรือ antithymocyte globulin ถือเป็นการรักษาที่เป็นตัวเลือกถัดมาในผู้ป่วย severe aplastic anemia ที่ไม่สามารถทำการปลูกถ่ายไขกระดูกได้
1.3 การให้ androgenic hormone เป็นยาที่มีการใช้ในการรักษาผู้ป่วยไขกระดูกฝ่ออย่างแพร่หลายที่สุดในประเทศไทย แม้จะให้ผลการรักษาไม่สูงเท่า 2 อย่างแรก
2. การรักษาประคับประคอง
2.1 การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด ให้เมื่อผู้ป่วยมีอาการโดยมากมักจำเป็นต้องรักษาระดับ hemoglobin ให้ได้อย่างน้อย 7 – 8 g/dl
2.2 การรักษาภาวะติดเชื้อ ควรทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อหาแหล่งที่ติดเชื้อเนื่องจากผู้ป่วยมักมีไข้จากการติดเชื้อเสมอ

Hemophilia
เป็นโรคเลือดออกง่ายที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากร่างกายขาดปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดเนื่องจากมีความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
ชนิดของ hemophilia
1. hemophilia A เกิดจากการขาด factor 8 ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x-linked recessive พบมากที่สุดในกลุ่มโรค hemophilia
2. hemophilia B เกิดจากการขาด factor 9 ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x-linked recessive
3. hemophilia C เกิดจากการขาด factor 11 ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออกง่ายและหยุดยาก จะเริ่มมีอาการตั้งแต่เด็ก โดยมีภาวะเลือดออกผิดปกติเป็นๆหายๆ ตำแหน่งเลือดออกที่พบได้บ่อยตามลำดับ คือ ในข้อ ในกล้ามเนื้อ เหงือกและฟัน และที่ตำแหน่งอื่นๆ เช่น เยื่อบุผิวต่างๆ และจะมีอาการที่เกิดเนื่องจากผลข้างเคียงที่มีเลือดออกในข้อบ่อยๆ เช่นข้อพิการ ข้อติด กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
การวินิจฉัย
1. จากประวัติ มีประวัติเลือดออกง่ายหยุดยาก โดยมีอาการเป็นๆหายๆ ตั้งแต่เด็ก และพบลักษณะที่สำคัญของโรค hemophilia คือ hemarthosis

2. ประวัติครอบครัว ถ้าเป็น hemophilia A หรือ B อาจมีประวัติครอบครัวญาติผู้ชายฝ่ายมารดามีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจคัดกรอง
3.1.1 VCT มีค่ายาวกว่าปกติ
3.1.2 PTT มีค่ายาวกว่าปกติ ในขณะที่ค่า PT ปกติ
3.1.3 CBC, Plt count, Bleeding time ปกติ
3.2 การตรวจทางห้องปฏิบัติการทำจำเพาะ
3.2.1 mixing test คือ การนำ plasma ของผู้ป่วยมาผสมกับ plasma ที่ทราบอยู่แล้วว่าขาด factor 8 แล้ว ไม่สามารถแก้ไขค่า PTT หลังผสมให้กลับมาเป็นปกติได้ จะช่วยสนับสนุนว่า plasma ของผู้ป่วยไม่มี factor 8 จริง ในขณะที่ถ้านำ plasma ของผู้ป่วยไปผสมกับ plasma ของคนปกติ จะสามารถแก้ไขค่า PTT หลังผสมให้กลับมาเป็นปกติได้
3.2.2 factor assay เป็นการวัดค่าความสามารถในการทำงานของ factor
การดูแลรักษา
1. ประเมินความรุนแรงของโรค ดูจากตำแหน่งของบาดแผลและปริมาณเลือดที่ออก
2. การรักษาเฉพาะที่
2.1 เลือดออกในข้อ ต้องได้รับการรักษาโดยให้ส่วนประกอบของเลือดทดแทน ช่วงแรกควรพักข้อไว้ก่อน และควรพันด้วยผ้า elastic ไม่ควรเจาะเลือดออกจากข้อ ยกเว้นเลือดออกในข้อมากจนทำให้อาการปวดรุนแรงและมีข้อใหญ่มาก หลังเจาะต้องพันผ้าให้แน่น
2.2 ถ้ามีบาดแผลภายนอก เช่น มีดบาด รีบล้างให้สะอาดและใช้ผ้ากดให้แน่น ถ้าเป็นแผลขนาดใหญ่ต้องเย็บแผล
2.3 เลือดออกในกล้ามเนื้อ ใช้การประคบเย็นใน 24 ชม.แรก วันต่อมาประคบร้อนเพื่อให้ก้อนเลือดสลาย
3. การรักษาด้วยการทดแทนโดยให้ส่วนประกอบของเลือดทดแทน
3.1 Fresh Frozen Plasma ให้ได้ในผู้ป่วยที่ยังไม่ทราบชนิดแน่นอนของ hemophilia สามารถรักษาโรค hemophilia ได้ทุกชนิด
3.2 Cryoprecipitate ให้ได้ในเฉพาะผู้ป่วย hemophilia A เท่านั้น
หลักการให้การรักษาด้วยการให้ส่วนประกอบของเลือด
1. พิจารณาส่วนประกอบของเลือดที่เหมาะสมกับโรค
- hemophilia A ให้การรักษาด้วย fresh frozen plasma, cryoprecipitate, aged plasma
- hemophilia B ให้ fresh frozen plasma, aged plasma แต่ไม่สามารถให้การรักษาด้วย cryoprecipitateได้
2. จำนวนที่ต้องให้และเวลาที่ต้องให้ทดแทนต้องเหมาะสม
4. ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องการวางแผนครอบครัว
Immune Thrombocytopenic Purpura
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกลไกทางระบบอิมมูนของร่างกายทำให้มีการสร้าง antibody ต่อเกล็ดเลือดของร่างกาย เกล็ดเลือดที่ถูกจับโดย antibody จะถูกทำลายที่ม้ามส่งผลให้เกล็ดเลือดในร่างกายต่ำลงกว่าปกติ แบ่งออกได้เป็นสองชนิดตามสาเหตุการเกิด คือ
1. primary immune thrombocytopenia คือ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากการที่ร่างกายสร้าง autoantibody ต่อเกล็ดเลือดของตนเองโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แบ่งชนิดย่อยตามลักษณะทางคลินิกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 acute ITP มักเกิดในเด็กตามหลังการติดเชื้อไวรัส สามารถหายได้เอง
1.2 chronic ITP พบในผู้ใหญ่ ไม่สามารหายขาดได้เอง ต้องการการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
2. secondary immune thrombocytopenia เป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากการที่ร่างกายสร้าง autoantibody ที่ทราบสาเหตุชัดเจน ดังต่อไปนี้
2.1 lymphoproliferative disease เช่น chronic lymphocytic leukemia
2.2 โรคมะเร็งบางชนิด
2.3 โรคของระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น rheumatoid arthritis, SLE
2.4 immunological bowel diseases เช่น crohn’s disease, ulcerative colitis
2.5 โรคติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียและการติดเชื้อไวรัส
2.6 ยาบางชนิด เช่น penicillin, hydrochlorothiazide
ลักษณะทางคลินิก
พบในหญิงมากกว่าชาย ส่วนมากมักมาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออกผิดปกติตามที่ต่างๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล มีจุดจ้ำเลือดตามตัว ถ้าเป็นผู้หญิงอาจมีประวัติประจำเดือนมากและนานผิดปกติ บางคนอาจมีอาการซีดเหนื่อยเพลียจากการเสียเลือดเรื้อรัง
การตรวจร่างกายต้องตรวจในบริเวณที่อาจมีเลือดออกผิดปกติที่พบได้บ่อย คือ
1. ผิวหนังในร่างกาย พบ petechiae ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่พบในภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มักพบบริเวณแขนขามากกว่าบริเวณลำตัว
2. ตรวจดูภาวะเลือดออกตามเยื่อบุต่างๆ เช่น ตามไรฟัน เยื่อบุตา
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรค ITP
1. พบเฉพาะเกล็ดเลือดต่ำเท่านั้นจากการตรวจ CBC
2. เจาะไขกระดูกแล้วพบว่ามีความพยายามในการสร้างทดแทน คือ megakaryocyteมีจำนวนมากขึ้นหรืออย่างน้อยเท่าเดิม
3. ตรวจพบภูมต้านทานต่อเกล็ดเลือดของตนเอง ( PAIgG )
4. ไม่พบว่ามีม้านโตจากการตรวจร่างกาย
5. ต้องไม่มีภาวะหรือโรคอื่นใดที่อาจจะเป็นสาเหตุให้มีภาวะเกล็ดเลือด่ำได้ เช่น การติดเชื้อโรคทางภูมิคุ้มกัน โรคมะเร็ง เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
1. CBC พบแต่ภาวะเกล็ดเลือดต่ำในขณะที่จำนวนwbc และความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงปกติ ยกเว้นผู้ป่วยมีเลือดออกมากผิดปกติเป็นเวลานานและเป็นจำนวนากอาจจะตรวจพบภาวะซีดได้
2. ค่าการทำงานของโปรตีนที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือด คือค่อ PT PTT และ TT อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. เจาะไขกระดูกพบว่า megakaryocyte ปกติหรือมีจำนวนมากขึ้น
4. ตรวจ LE cell, ANA โปรตีนในปัสสาวะ และตรวจหาภาวะการติดเชื้อไวรัส HIV เพื่อแยกโรคหรือภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดเกล็ดเลือดต่ำออกไป
5. การตรวจเพื่อเป็นการเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษา คือ FBS, stool exam, CXR ก่อนให้ steroid
การดูแลรักษา
ก่อนการวางแผนรักษาผู้ป่วยต้องมีการประเมินดังนี้
1. เป็น primary หรือ secondary ITP เนื่องจากถ้าเป็น secondary ITP การรักษาโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุจะทำให้หายขาดได้
2. ในกรณีที่ค้นหาสาเหตุอื่นแล้วไม่พบและให้การวินิจฉัยว่าเป็น primary ITP ก่อนการรักษาต้องมีการประเมินความรุนแรงของโรค โดยมีแนวทางดังนี้
ขั้นต้นต้องประเมินว่าผู้ป่วยคนใดมีความรุนแรงของโรคมากและกำลังมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง ถ่ายเป็นเลือดสด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่
2.1 ผู้ป่วยที่มี wet purpura คือมีจุดจ้ำเลือดตามร่างกายขนาดใหญ่ > 0.5 cm และมีเลือดออกตาามเยื่อบุต่างๆจำนวนมาก
2.2 มีอาการที่บ่งบอกว่ามีเลือดออกในสมอง หรือตรวจพบมีเลือดออกในเยื่อบุจอตา
2.3 ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 15,000 cell/mm3
วิธีการรักษา
1. การรักษาทั่วไป
1.1 เฝ้าระวังภาวะเลือดออกผิดปกติ หลีกเลี่ยงหัตถการที่มีความเสี่ยง เช่น เจาะเลือด
1.2 การให้เกล็ดเลือดทดแทน
2. ยาที่ใช้ในการรักษา
2.1 corticosteroid ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำหน้าที่ของเซลล์ที่ทำหน้าที่กำจัดเกล็ดเลือดที่ม้ามและลดการสร้าง autoantibody
2.2 immunosuppressive drug
ข้อบ่งชี้ในการรักษาผู้ป่วย ITP ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน
2.2.1 ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่ตัดม้ามแล้ว
2.2.2 ผู้ป่วยที่เป็น steroid dependence คือลดขนาดของยา cortocosteroid ลงไม่ได้
2.3 RE system blockade ยาที่ใช้คือ IVIG ( intravenous immunoglobulin)
3. การตัดม้าม splenectpomy
4. สามารถทำให้โรคหายขาดได้ในสัดส่วนที่สูงและข้อดีคือการตอบสนองต่อการรักษารวดเร็วเพราะเป็นการกำจัดอวัยวะที่ทำหน้าที่สร้าง autoantibody และทำลายเกล็ดเลือด

Definition
Anemia
Leukopenia
Neutropenia; Febrile neutropenia
Thrombocytopenia

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

การฆาตกรรมเด็ก(Neonaticide,Infanticide and Child Homicide)

การฆาตกรรมเด็กมักเกิดในช่วง 2 ปีแรกหลังคลอด การปล่อยปละละเลยไม่ดูแลจนเด็กเกิดอันตรายถือเป็นเจตนาทำร้ายเด็กด้วย สถิติในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ในคนผิวดำ เด็กอายุน้อยกว่า1ขวบถูกพ่อแม่ฆ่าตาย 13.5ต่อ100,000 อายุ1-4ขวบถูกฆ่าตาย6.4/100,000 ส่วนในคนผิวขาว เด็กอายุต่ำกว่า1ขวบถูกฆ่า 3.6/100,000 อายุ 1-4 ขวบจำนวน 1.5/100,000 ตามลำดับ ในประเทศไทยยังไม่มีสถิติที่แน่นอน แต่อาจสังเกตแนวโน้มได้จากการที่มารดาทิ้งลูกที่คลอดใหม่ในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งไปยังสถานสงเคราะห์แปดแห่งทั่วประเทศมีจำนวนถึง1,523คน (ปี พ.ศ.2541)
การฆ่าทารกแรกคลอดอายุไม่ถึง24ชม.(Neoticide) ผู้กระทำมักเป็นแม่ของทารกเอง บางครั้งอาจมีคนช่วยทำด้วย ส่วนมากแม่มักมีอายุน้อย ไม่ได้แต่งงาน ไม่มีการศึกษา บางคนอ้างว่าไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ ด้วยซ้ำไป เพราะการกระทำนี้มักเป็นการกระทำเพื่อปกปิดการตั้งครรภ์ ศพเด็กพวกนี้มักพบตามท่อระบายน้ำ กองขยะ หรือส้วมสาธารณะ สิ่งที่ต้องพิสูจน์คือเด็กคลอดมีชีวิตหรือไม่ การลอยปอดในน้ำช่วยในการพิสูจน์เป็นอย่างดี แต่ควรจะตรวจชิ้นเนื้อทางกล้องจุลทรรศน์ด้วยเพื่อดูว่ามีการขยายตัวของถุงลมด้วยหรือไม่ เพื่อประกอบกัน ต้องคำนึงเสมอว่าเด็กในครรภ์มีการหายใจตลอดเวลาแต่หายใจเอาน้ำเข้าปอด หรือพอคลอดเสร็จ พ่อหรือแม่รีบอุดปากอุดจมูกเด็กจนตาย ปอดก็อาจจะไม่ลอยน้ำ การเน่าปอดจะลอยน้ำทุกอัน ทำให้การตรวจโดยวิธีนี้ใช้ไม่ได้ เมื่อพิสูจน์ได้ว่าคลอดมีชีวิตแล้วก็ต้องหาสาเหตุการตาย ส่วนมากการอุดปากอุดจมูก มักไม่ปรากฏบาดแผล และในเด็กแรกคลอดการปล่อยทิ้งไว้เฉยๆก็ตายได้โดยไม่ต้องทำอะไร อย่างไรก็ตามผู้เขียนเคยพบศพเด็กแรกคลอดถูกมีดแทงเข้าช่องท้องทางชายโครงซ้าย2แผล ทำให้ถึงแก่ความตาย
การฆ่าทารกอายุต่ำกว่า1ขวบและเด็กอายุมากว่า1ขวบ(Death before and after first year of life) การฆ่าเด็กในขวบปีแรกพบมาก จากการฆ่าด้วยวิธีต่างๆ ส่วนมากเป็นการทำร้ายโดยใช้ของแข็งไม่มีคม จากสถิติของDiMaio ศพเด็กที่ตายจากของแข็งไม่มีคมใน 5 ปีที่นิวยอร์คมี 184ราย 10%ไม่มีบาดแผลภายนอก 64.1%ตายจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ 23.4%ตายจากการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้อง 4.4%ตายจากการบาดเจ็บของศีรษะร่วมกับท้อง 2.2%ตายจากการบาดเจ็บของศีรษะ ช่องอกและช่องท้องรวมกัน ศพที่ตายจากการบาดเจ็บของศีรษะส่วนใหญ่เกิดจาก เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกกับกะโหลกแตก ส่วนที่ตายจากลำตัวเกิดจากการฉีกขาดของอวัยวะในช่องท้อง กลุ่มอาการของเด็กที่ถูกทำร้าย(Battered Baby Syndrome) ลักษณะบาดแผลของเด็กในกลุ่มนี้มักมีบาดแผลช้ำตามตัวเป็นจำนวนมากทั้งเก่าและใหม่ อาจพบกระดูกหัก หรืออวัยวะภายในฉีกขาด เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง และแผลถูกความร้อน เด็กมักถูกพามาโรงพยาบาลช้า สิ่งที่พ่อแม่มักแจ้งแก่แพทย์คือ เด็กตกจากโต๊ะ เก้าอี้ฯลฯ ในรายที่ถูกน้ำร้อนก็มักบอกว่าเด็กดึงกาน้ำร้อน เอามือ จุ่มน้ำร้อนฯลฯ ถ้าเด็กขาดอาหารก็มักอ้างว่าเด็กไม่ยอมกินอาหาร ที่มีผื่นตามตัวก็จะแจ้งว่าเด็กแพ้ฝุ่นละอองง่าย หรือเป็นโรคภูมิแพ้ ในการผ่าศพจะพบว่าเด็กมีช้ำในเนื้อเยื่อของร่างกายหลายแห่งโดยเฉพาะที่ศีรษะกับหน้าอก ซึ่งถ้าเป็นการเกิดขึ้นจากการเล่นของเด็กจะเกิดบริเวณขาหรือแขนมากกว่า หรือมีแผลช้ำซึ่งบอกลักษณะของสิ่งที่ตีเช่นเข็มขัดหรือไม้แขวนเสื้อ กรณีที่ไม่เห็นแผลช้ำจากภายนอกการกรีดผิวหนังตามยาวที่ลำตัวหรือแขนขาจะพบเลือดออกในเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว หรือริมฝีปากด้านในมีแผลจากการตีที่ใบหน้าหรือการบีบหรือกดที่ปาก แผลที่ทำให้ตายในเด็กพวกนี้มักเกิดที่ศีรษะ มีกะโหลกแตก เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกหรือชั้นใน บางครั้งอาจพบมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย เด็กมักมีสภาพขาดอาหารร่วมด้วย และมักพบว่าถูกปล่อยให้นอนเกลือกกับอุจจาระปัสสาวะของตัวเอง เด็กมักจะผอม ผิวแห้ง หรือมีแผลเปื่อยตามตัว แสดงถึง การละทิ้ง หรือละเลยในการดูแล ซึ่งเมื่อเด็กพวกนี้ถูกส่งเข้าโรงพยาบาลเด็กจะน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงว่าการขาดอาหารไม่ได้เกิดจากโรค หรือความผิดปกติของทางเดินอาหารแต่กำเนิด
การตายจากการทำร้ายเพราะความโกรธ(angry homicide) การทำร้ายเด็กด้วยความโกรธมักเกิดจากพ่อเลี้ยงหรือที่พบน้อยกว่าคือแม่ เนื่องจากเด็กกวนหรือทำความรำคาญให้ การบาดเจ็บมักเกิดจากการที่เด็กถูกจับเหวี่ยงหรือจับขาขว้างไปกระทบผนังหรือพื้น หรือเตะ จากการตรวจศพจะพบสภาพเด็กโดยทั่วไปจะค่อนข้างปกติเช่น สมบูรณ์ น้ำหนักดี ไม่มีบาดแผลเรื้อรังแบบเด็กที่ถูกทำร้าย อาจพบการตายเกิดจากการบาดเจ็บที่ท้องเพราะถูกเตะ พ่อแม่ในรายพวกนี้มักแก้ตัวว่าเด็กพลัดตกลงขณะกำลังอุ้ม หรือตกจากเก้าอี้ฯลฯ บางครั้งจับเด็กแช่ลงในน้ำร้อนเพื่อ "สั่งสอน" และพ่อแม่มักแก้ตัวว่าอาบน้ำให้ลูกโดยไม่ทราบว่าน้ำร้อน แต่การพามาหาหมอมักจะพามาช้าและมือของคนที่อ้างว่าอาบน้ำให้ก็ไม่มีอาการถูกน้ำร้อนเลย ถ้าในเด็กโตหน่อยพ่อแม่จะให้ การว่าเด็กปีนลงไปในอ่างเอง ซึ่งกรณีนี้การดูจากแผลที่ถูกความร้อนลวกจะพบว่าบริเวณที่ลวกมันฟ้องอยู่ พ่อแม่ที่ทำร้ายอาจจะเกิดเพราะโกรธดังกล่าวหรืออาจจะเป็นพวกโรคจิตโรคประสาทก็ได้
การตายจากกลุ่มอาการ Munchausen’s syndrome by proxy เด็กที่ตายในกรณีนี้คือ การที่แม่อุดปากอุดจมูกเด็กพอเด็กเริ่มจะไม่หาย หรือหยุดหายใจก็หยุดการบีบ แล้วพยายามช่วยให้ฟื้นหรือพาไปหาแพทย์รักษา ซึ่งลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน จนวันหนึ่งเด็กถึงแก่ความตาย เด็กที่ตายพวกนี้มักมีสภาพร่างกายเจริญเติบโตปกติ ไม่มีบาดแผลเรื้อรังใด แต่จะมีประวัติ เข้าโรงพยาบาลมาหลายครั้งด้วยอาการ”อยู่ดีดีก็เขียว หรือหยุดหายใจ” พอเข้าโรงพยาบาลแล้วกลับไม่ปรากฏอาการใด จนกระทั่งออกจากโรงพยาบาล ไประยะหนึ่งก็เกิด "อาการ" ขึ้นอีก แพทย์เคยสงสัยและจับได้โดยการแอบถ่ายวิดีโอขณะที่แม่มาเยี่ยมอาการป่วย พบว่าแม่ได้อุดปากอุกจมูกเด็กจริงระหว่างที่นอนในโรงพยาบาล ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุ และช่วยชีวิตเด็กไว้ได้การตายด้วยวิธีอื่นๆ การแทง ยิง กดน้ำฯลฯ ล้วนแล้วแต่พบได้ทั้งสิ้น คนที่ทำอาจจะเป็นใครก็ได้ อาจจะเป็นอุบัติเหตุ หรือฆาตกรรมก็ได้ เช่นเดียวกับในผู้ใหญ่
การตายจากถูกโยกศีรษะ Shaken baby syndrome เป็นการโยกหัวเด็กโดยการจับตัวเด็กแล้วโยกทางหน้าหลังอย่าแรง หัวเด็กหงายไปมาอย่างแรง เกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกและชั้นในได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณลำคอซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะของเด็กยังไม่แข็งแรงพอ ศีรษะเด็กจึงโยกหน้าหลังอย่างรุนแรงเพราะน้ำหนักของศีรษะมาก(เมื่อเทียบกับส่วนอื่น) สมองซึ่งเคลื่อนที่โดยแรงเฉื่อย จะดึงประสาทตาซึ่งจะดึงต่อไปถึงลูกตา แต่ลูกตาไม่สามารถเคลื่อนมาทางด้านหลังได้โดยอิสระเพราะติดกระดูกเบ้าตาทำให้ เยื่อหุ้มสมองชั้นในซึ่งหุ้มถึงไยประสาทตาด้วยเกิดฉีกขาดที่ส่วนนั้น และจะพบมีเลือดออกที่ใต้เยื่อหุ้มลูกตา ทางด้านหลังของลูกตาทั้งสองข้างอย่างขัดเจน ส่วนกลไกในการตาย เกิดจากไยประสาทสมองเกิดการฉีกขาดทำนองเดียวกับการเพิ่มหรือลดความเร็ว ลักษณะจำเพาะจากการผ่าศพจะเห็นมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มตาทั้งสองข้าง แต่การผ่าศพต้องตัดกระดูกเบ้าตาออกเพื่อนำลูกตาทั้งสองข้างออกมาตรวจด้วย พฤติการณ์ในการตายอาจจะเป็นอุบัติเหตุด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ เป็นฆาตกรรมก็ได้
การสอบสวน การสอบสวนในกรณีที่มีเด็กเสียชีวิตจะทำได้สำเร็จต้องอาศัยการตั้งข้อสงสัยในทุกเรื่อง ต้องมีประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียด ผลการตรวจร่างกาย การตรวจที่เกิดเหตุ(สิ่งที่พบในเตียงหรือเปลเด็ก) ประวัติที่พ่อแม่ให้เกี่ยวกับการเกิดความบาดเจ็บมักไม่เข้ากับลักษณะและความรุนแรงของบาดแผลที่พบเห็น การตรวจสถานที่เกิดเหตุจึงมีความสำคัญ ภาพถ่ายทาง X-rays กับผลการตรวจศพ นำมาประมวลเข้าด้วยกัน ประวัติทางการแพทย์มักพบว่า 40%ของเด็กที่ถูกทำร้ายจะถูกพามาหาแพทย์ในเช้าวันรุ่งขึ้นแทนที่จะพามาหาแพทย์ทันที อีก40%จะถูกพามาใน1-4วัน ผู้ทำร้ายส่วนใหญ่จะเป็น พ่อแม่ แฟนใหม่ พ่อเลี้ยง พี่เลี้ยงฯลฯ พ่อแม่ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ถูกทิ้งเช่นสามีทิ้งหรือภรรยาทิ้งไปมีคนรักใหม่ปล่อยให้อยู่กับลูก หรือเป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง หรืออยู่ในความกดดันทางด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ มีลูกมากเกินไป ฯลฯ พวกขี้เหล้า หรือใช้ยาเสพย์ติด ระดับการศึกษาของพ่อแม่ก็มีส่วนในการทำร้ายในรูปแบบต่างๆที่กล่าวมา เด็กเองก็อาจจะมีนิสัยงอแงเก่ง กวนเก่ง ซน หรือเด็กที่ค่อนข้างโง่เขลา การตรวจร่างกายอาจพบร่องรอยของการบาดเจ็บจากมือ หรือหมัด X-rays อาจพบมีการแตกหักของกระดูกส่วนต่างๆ อาจจะเก่าหรือใหม่ การตรวจด้วย X-rays computor อาจพบการบาดเจ็บหรือเลือดออกในสมอง ก่อนการตรวจศพหรือตรวจร่างกายเด็กถ้ามีโอกาศตรวจพ่อแม่ร่างกายก่อนจะมีส่วนช่วยในการวินิฉัย การตรวจศพจะต้องควรต้องบรรยายลักษณะการเจริญ เติบโต สภาพการขาดอาหาร ลักษณะของเสื้อผ้า(ความเก่าใหม่ ความสะอาดฯลฯ) บาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุในบ้านมักไม่เกิดมีลักษณะของของแข็งที่กระทบ และมักไม่เกิดสองข้างของศีรษะ หรือแขน จากนั้นจึงผ่าศพตรวจภายในโดยละเอียด รวมทั้งการตรวจภายในช่องปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก และอาจจะต้องตรวจเส้นประสาทตา ซึ่งอาจจะพบลักษณะต่างๆในการตายแบบต่างๆที่กล่าวมาแล้ว พ่อแม่ส่วนมากจะปฏิเสธในเบื้องต้น แต่เมื่อแพทย์พบว่ามีการบาดเจ็บและตำรวจดำเนินคดี ก็มักจะยอมรับในชั้นสอบสวนเนื่องจากไม่ใช่อาชญากรอาชีพ การตรวจที่เกิดเหตุจะต้องดูว่าสภาพของบ้านเป็นอย่างไร สกปรก รก คราบขยะ ฯลฯ เพื่อบอกความเอาใจใส่ในบ้านของพ่อแม่ มีอาวุธที่อาจใช้หรือไม่ คราบที่ เกิดจากการทำร้ายเช่นคราบเลือด คราบอสุจิ คราบอาเจียน เหตุเกิดที่จุดใด และถูกเคลื่อนย้ายไปที่ใด มีการเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือวัตถุใดใดบ้าง มีลายพิมพ์นิ้วมือ ที่ใด หาประจักษ์พยานได้หรือไม่ บันทึกทุกอย่างที่ตรวจและสอบถามได้ และเรียบเรียงเรื่องราวที่เกิดขึ้น บรรณานุกรม1. DIMAIOS, Dominick J. and Vincent J.M. FORENSIC PATHOLOGY NewYork,Elsevier 19892. KNIGHT, Bernard. SIMPSON’S FORENSIC MEDICINE. Eleventh edition, NewYork, Arnold Pub.,19973. KNIGHT, Bernard. FORENSIC PATHOLOGY, Second edition,NewYork, Arnold Pub.19964. SPITZ, Wernerd. SPITZ AND FISHER’S MEDICOLEGAL INVESTIGATION OF DEATH, Thir