วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่างข้อสอบสภาการพยาบาล

เอ็ดดี้ อายุ 6 ปี ปัสสาวะรดที่นอน ไม่ได้สาเหตุจากร่างกาย แม่ของเอ็ดดี้โศกเศร้าและตำหนิว่าเป็นปัญหาของพ่อ “ทั้งหมดเป็นความผิดของพ่อ ” พยาบาลควรจะตอบอย่างไร
ก. ทำไมคุณถึงพูดเช่นนั้นคะ
ข. ไม่ใช่ความผิดของใครหรอกค่ะ
ค. คุณดูโกรธมากเลยนะคะ
ง. ทำไมคุณถึงตำหนิพ่อเอ็ดดี้อย่างนั้นคะ
คำตอบ ข้อ ค. เพราะเมื่อได้รับการอธิบายเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคของบุตร มารดาของเอ็ดดี้โมโห และโยนความผิดให้กับผู้อื่น (พ่อของเอ็ดดี้ ) การยอมรับความรู้สึกนั้นจะช่วยให้เกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่นกับแม่ของเอ็ดดี้ให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเหลือและให้คำปรึกษาได้ง่ายขึ้น (สาระทบทวน)
2. คารา อายุ 17 ปี รักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยอาการไม่ยอมรับประทานอาหาร ท่านได้รับมอบหมายให้ไปดูแลผู้ป่วยขณะรับประทานอาหารเย็น คาราพูดว่า “ พยาบาลประจำตัวเชื่อใจฉัน ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมคุณไม่เชื่อใจฉัน ” ท่านจะตอบคาราอย่างไร
ก. ฉันเชื่อใจคุณ แต่ว่าฉันได้รับมอบหมายให้อยู่กับคุณ
ข. ดูจะเป็นเช่นนั้น ถ้าคุณกำลังบังคับให้ฉันเชื่อ
ค. ได้ค่ะ แต่เมื่อฉันกลับมา คุณต้องรับประทานอาหารให้หมดนะคะ
ง. ใครคือพยาบาลประจำตัวของคุณ
คำตอบ ข้อ ข. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร มักจะสร้างความไว้วางใจได้ยากการเผชิญกับข้อต่อรองของผู้ป่วยจะทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมของตนเองได้ (หนังสือจิตเวชศาสตร์)

3. อลิเซีย อายุ 15 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรค Anoxia nervosa ( เบื่ออาหาร ) หล่อนสูง 160 ซม. หนัก 45.5 กิโลกรัม วัตถุประสงค์แรกในการรักษาผู้ป่วยรายนี้คือ
ก. ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
ข. เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับอาการผิดปกติ
ค. ช่วยลดความเข้มงวดของแม่เด็ก
ง. ช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้และมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
คำตอบ ข้อ ง. ผู้ป่วยที่อดอาหารรู้แล้วว่าสภาพร่างกายของตนเป็นอย่างไร ดังนั้นการช่วยให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวการณ์ขาดสารอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้รับประทานอาหารให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เป็นเป้าหมายแรกของการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ความวิตกกังวลเป็นเรื่องพื้นฐานของผู้ป่วยอยู่แล้ว การรักษาที่ยาวนานจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจในอาการของโรคได้ ส่วนการสร้างความเข้าใจของครอบครัว ก็เป็นเป้าหมายหนึ่ง แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์แรก (หนังสือจิตเวชศาสตร์)




4. ผู้ป่วยอายุ 15 ปี เข้ารับการรักษาด้วยอาการเบื่ออาหาร พยาบาลพบขวดยาที่ผู้ป่วยบอกว่าเป็นยาลดกรดใช้เมื่อปวดท้องพยาบาลควรทำอย่างไร
ก. ช่วยบอกอาการปวดท้องเป็นอย่างไร
ข. นี่ไม่ใช่ยาลดกรดฉันจะให้หมอสั่งยาให้
ค. บอกด้วยว่าคุณใช้ยาอะไรอีกบ้าง
ง. บางคนใช้ยาเพื่อลดน้ำหนัก
คำตอบ ข้อ ก. เพราะผู้ป่วยติดยา และน่าจะใช้ยาเพื่อทำให้น้ำหนักลด ข้อมูลสำคัญ คืออาการปวดท้อง ซึ่งต้องมีการประเมินต่อ ข้อ3และข้อ4 จะเหมาะสมในระยะต่อไป เมื่อมีสัมพันธภาพกับผู้ป่วย การใช้คำถามเป็นการเริ่มต้นที่ดี (หนังสือจิตเวชศาสตร์)
5. การพยาบาลเพื่อปรับพฤติกรรมดูแลคือข้อใด
ก. ให้แสดงบทบาทสมมติเพื่อพบพ่อแม่
ข. ช่วยให้ผู้ป่วยหัดแสดงความรู้สึก
ค. จัดหาอาหารที่มีแคลรี่สูงและโปรตีนสูงในช่วงระหว่างมื้อ
ง. เข้มงวดกับผู้ป่วยให้กินอาหารจนน้ำหนักเพิ่ม 3 ปอนด์
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ การปรับพฤติกรรมควรมีทั้งด้านบวกและด้านลบสำหรับพฤติกรรมที่ต้องการและพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ ผู้ป่วยจำเป็นต้องกินเพื่อให้น้ำหนักเพิ่ม การแสดงบทบาทสมมุติ การแสดงความรู้สึก การให้อาหารแคลอรี่สูงไม่ใช่การปรับพฤติกรรม (หนังสือจิตเวชศาสตร์)
6. ผู้ป่วยอายุ 74 ปี รับไว้ในบ้านพักคนชราด้วยอาการสับสน ขี้ลืมและพฤติกรรมต่อต้านครอบครัวบอกว่าผู้ป่วยสุขภาพดี เมื่อผู้ป่วยถามว่าฉันเป็นใคร พยาบาลควรตอบว่าอย่างไร
ก. ตอนนี้คุณไม่ต้องกังวลนะที่นี่ปลอดภัย
ข. แล้วคุณคิดว่าคุณอยู่ที่ไหน
ค. ครอบครัวของคุณบอกอะไรคุณ
ง. คุณอยู่ที่บ้านพักคนชรา
คำตอบ ข้อ ง. เพราะเป็นการบอกสถานการณ์จริง ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยจำได้ (สาระทบทวน)
7. ข้อใดเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่สับสนให้สามารถจำห้องของตัวเองได้
ก. นำภาพครอบครัวของผู้ป่วยมาตั้งไว้ให้ดูตลอด
ข. เขียนชื่อผู้ป่วยด้วยอักษรขนาดใหญ่ไว้ที่หน้าฝาก
ค. เตือนให้ผู้ป่วยรู้ว่าห้องตัวเองอยู่ที่ไหน
คำตอบ ข้อ ค. เพราะ พยาบาลเป็นคนที่ผู้ป่วยจะถามทางหรือข้อแนะนำ (หนังสือจิตเวชศาสตร์)
8. ผู้ป่วยเคยได้รับการรักษาด้วยอาการสับสนขี้หลงขี้ลืม และพฤติกรรมต่อต้านพยาบาลจะจัดกิจกรรมใดสำหรับผู้ป่วย
ก. จัดให้เข้ากลุ่มย่อย
ข. ให้ร้องเพลงไปเรื่อยๆ
ค. การทำกลุ่มพูดคุย
ง. ออกกำลังกายร่วมกับคนอื่น
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ ผู้ป่วยที่เสียความจำจะยิ่งกังวลและไม่ชอบใจขณะทำกิจกรรมการจัดกิจกรรมที่เป็นแบบแผน จะช่วยลดความเครียด (หนังสือจิตเวชศาสตร์)
9. ผู้ป่วยอายุ 74 ปี รับไว้ในบ้านคนชรา เพราะสับสน ขี้ลืมและพฤติกรรมต่อต้าน ผู้ป่วยนอนไม่หลับตั้งแต่แรกรับ ข้อใดเป็นการวางแผนที่ดีที่สุด
ก. หานมอุ่นๆ ให้ดื่มก่อนนอน
ข. ขอให้แพทย์สั่งยานอนหลับอย่างอ่อน
ค. ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยหลับในตอนกลางวัน
ง. ถามครอบครัวของผู้ป่วยว่า ผู้ป่วยชอบอะไร
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ เป็นการใช้ข้อมูลจากสมาชิกครอบครัว เป็นการวางแผนที่ดี
( การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต )
10. นายจิวอายุ 46 ปี ถูกพักงานเพราะว่ามีปัญหาเรื่องดื่มสุรา เขาสมัครใจที่จะเข้าโประแกรมเลิกสุรา ข้อมูลที่สำคัญที่จะต้องให้กับเจ้าหน้าที่สำหรับการล้างพิษ (Detoxification )
ก. เวลาที่ดื่มใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ข. ความถี่ของการดื่มใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ค. ความถี่ในการดื่มใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ง. ความถี่ของการดื่มใน 1 เดือนที่ผ่านมา
คำตอบ ข้อ ก. เพราะ การให้ประวัติที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมาก ในการรับผู้ป่วยเข้ารับการล้างพิษ ซึ่งข้อมูลนี้จะมีส่วนช่วยให้พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการล้างพิษมากที่สุด (หนังสือจิตเวชศาสตร์ )

11. ลักษณะที่พบในผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดที่ยาดต่อการบำบัดคือข้อใด
ก. การจัดการกับความเครียดและวิตกกังวล
ข. การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
ค. สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน
ง. การถูกจำกัด
คำตอบ ข้อ ก. เพราะ ผู้ติดสารเสพติดจพบำบัดได้ยาก หากไม่สามารถจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล
(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
12. ผู้ป่วยที่เลิกดื่มสุราแล้วมีอาการ เหงื่อออก ตัวสั่น (ลงแดง) อาการแสดงข้อใดที่บอกว่าอาการเลวลง
ก. ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติและภาวะความดันโลหิตสูง
ข. ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติและภาวะความดันโลหิตต่ำ
ค. ภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและภาวะความดันโลหิตสูง
ง. ภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและภาวะความดันโลหิตต่ำ
คำตอบ ข้อ ค. เพราะ ผู้ป่วยที่มีอาการเพ้อคลั่ง จะมี ความดันโลหิต ชีพจร และอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น รวมทั้ง Psychomotor จะทำงานมากขึ้นด้วย (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
13. วิธีการรักษาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางของผู้ที่ติดสารเสพติดคือ
ก. การรักษาเฉพาะกลุ่มบุคคลด้วยกลุ่มจิตบำบัด
ข. การรักษาเฉพาะกลุ่มบุคคลด้วยการปรับตัว
ค. กลุ่มบำบัด ในกลุ่มที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน
ง. กลุ่มบำบัด ในกลุ่มที่ติดสารเสพติดอื่น
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ การบำบัดด้วยกลุ่มผู้ติดสารเสพติดได้ผลโดยเฉพาะ กลุ่มผุ้ติดเหล้านิรนาม สำหรับการบำบัดรายบุคคลขึ้นอยู่กับการติดต่อระหว่างผู้ป่วยและผู้บำบัด วิธี Psychodynamic เน้นที่อิทธิพลภายในที่มีต่อพฤติกรรมภายนอก กลุ่มผู้บำบัดในผู้มีบุคลิกภาพแปรปรวนไม่สร้างความผูกพันให้สมาชิกกลุ่ม
(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
14. โรตีอายุ 23 ปี เขาสมัครใจเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในจากการวินิจฉัยโรคว่าจิตเภทที่ภาวะหวาดระแวง เมื่อพยาบาลให้การดูแล ผู้ป่วยพูดว่า ถ้าคุณเข้ามาใกล้ๆ ฉันจะตาย เป็นการแสดงออกแบบใด
ก. ประสาทหลอน
ข. หลงผิด
ค. หลงละเมอ
ง. ความแปรปรวนทางความคิด
คำตอบ ข้อ ข. เพราะ อาการหลงผิดจากการยึดติดกับความเชื่อที่ผิด (จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี )
15. พยาบาลเข้าไปพูดกับผู้ป่วยคนหนึ่ง ซึ่งเข้ารับการรักษาด้วยโรคจิตเวชที่มีภาวะหวาดระแวง ผู้ป่วยพูดว่า ถ้าคุณเข้ามาใกล้ๆ ฉันจะตาย การสนองตอบของพยาบาลต่อพฤติกรรมนี้คือข้อใด
ก. ฉันจะทำให้คุณบาดเจ็บได้อย่างไรคะ
ข. ฉันเป็นพยาบาลค่ะ
ค. คุณมีอะไรจะบอกฉันมากกว่านี้ไหม
ง. เป็นเรื่องเหลวไหลมากเลยนะที่คุณพูดแบบนี้
คำตอบ ข้อ ข. เพราะ พยาบาลต้องการให้ผู้ป่วยอยู่กับความจริง ปัจจุบันและไม่สนับสนุนอาการหลงผิด
(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
16. โรตีเป็นชายหนุ่มที่เข้ารับการรักษาโรคจิตเภทที่มีภาวะหวาดระแวง เขาเดินเข้ามาในห้องด้วยท่าทางกระวนกระวายใจ พยาบาลได้ยินเขาพูดว่า ฉันต้องไปจากหมอพวกนี้ เขาจะจับฉันส่งโรงพยาบาลศรีธัญญา สิ่งที่พยาบาลควรประเมินต่อไปคืออะไร
ก. ขยายความให้เข้าใจเกี่ยวกับการรักษา
ข. สังเกตการณ์เกิดอาการวิตกกังวลของผู้ป่วย
ค. ทบทวนประวัติการรักษา
ตรวจสอบปริมาณยาที่ผู้ป่วยได้รับ
คำตอบ ข้อ ข. การประเมินความวิตกกังวลและความกระวนกระวายใจ ซึ่งบ่งบอกว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองและให้การดูแลต่อไป (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
17. การติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยที่มีภาวะหวาดระแวงหลักสำคัญคืออะไร
ก. ใช้เหตุผลและคงเส้นคงวา
ข. จัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดภาวะวิตกกังวล
ค. อธิบายข้อสงสัยและไม่โต้เถียง
ง. กระตุ้นให้มีการระบายออกเมื่อโกรธ
คำตอบ ข้อ ค. เพราะ ผู้ป่วยที่มีความหวาดระแวงจะพัฒนาอาการหลงผิดขึ้นมาเพื่อปกป้องตนเองจากภาวะวิตกกังวล ดังนั้นการโต้เถียงกับผู้ป่วยจะเป็นการเพิ่มความวิตกกังวลขึ้น (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
18. กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับพยาบาลที่จะแนะนำผู้ป่วยที่พฤติกรรมวุ่นวาย
ก. กีฬาที่มีการแข่งขัน
ข. บิงโก
ค. วิ่งสามขา
ง. การพาไปเดินเล่นทุกวัน
คำตอบ ข้อ ง. การพาเดินทุกวันจะทำให้ผู้ป่วยมีความไว้วางใจพยาบาลมากขึ้น กิจกรรมที่มีการแข่งขันสูงจะเพิ่มความหวาดระแวงของผู้ป่วย (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
19. พยาบาลจะแยกบุคลิกภาพผิดปกติชนิด Bipolar และ Unipolar ได้จากอาการในข้อใด
ก. มักเกิดขึ้นกับผู้หญิง
ข. การมีความซึมเศร้าอย่างรุนแรง
ค. เกี่ยวกับพันธุกรรม
ง. แสดงอารมณ์ครึกครื้นร่าเริงผิดปกติ
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ Bipolar และ Unipolar จะมีภาวะซึมเศร้า ผู้ที่มีอารมณ์ 2 อย่างสลับไปมาจะวินิจฉัยจากอาการครึกครื้นร่วมด้วย Bipolar มักเกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิงสาเหตุของ Bipolar จะซับซ้อนและเกิดจากหลายสาเหตุมักพบว่าปัจจัยทางชีวภาพ กายภาพ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคลและปัจจัยทางวัฒนธรรม อาจจะมีปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมด้วยไม่ใช่ความแตกต่างที่จะแยก Bipolar กับ Unipolar
(จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี )
20. ชายคนหนึ่งอายุ 34 ปี มาด้วย Bipolar disosder เวลา 02.00 น. พยาบาลพบว่าเขากำลังโทรศัพท์หาเพื่อนข้ามประเทศเพื่อพูดคุยถึงโครงการใหม่ในการกำจัดความอดอยากของโลก ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมเงียบพยาบาลควรรายงานให้ได้รับยาประเภทใด
ก. ยากลุ่มลดอาการซึมเศร้า
ข. ยาในกลุ่ม MAO- inhibitor antidepressant
ค. ยา Lithium carbonate
ง. ยาคลายความวิตกกังวล
คำตอบ ข้อ ค. เพราะ ยาที่เป็นตัวเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีอารมณ์แประปรวน คือ Lithium carbonate ส่วนยา tricyclic antidepressant อาจจะใช้สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคอารมณ์แปรปรวนได้เมื่อแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยไม่อาจทนผลข้างเคียงของยาได้ และต้องติดตามผลของผู้ป่วยที่ได้รับยา Lithium MAO Inhibitors เป็นยาลดความซึมเศร้าแต่มีเหตุผลหลักในการจำกัดอาหารและไม่ใช้ร่วมกับ tricyclic antidepressant ยาคลายความวิตกกังวลใช้ในผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวและความผิดปกติทางกายและในผู้ป่วยได้รับความทรมานจากความกลัวอย่างรุนแรง (จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี)
21. การรักษาทางด้านจิตใจสำหรับผู้ป่วยผู้ซึ่งชอบโชว์ยกเว้นข้อใด
ก. จิตวิเคราะห์บำบัด
ข. จิตบำบัด
ค. สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ง. บำบัดด้วยวิธีแก้ปัญหา
คำตอบ ข้อ ก. เพราะ Psychoanalysis เป็นการรักษาเชิงลึกและเน้นที่ความตระหนักรู้ ไม่ใช่เป็นการรักษาในภาวะ Bipolar disorder Cognitive therapy เป็นวิธีการรักษาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนทัศนคติ การรับรู้และวิธีการคิด การสร้างสัมพันธภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเป็นพื้นฐานในพฤติกรรมที่ผิดปกติ Problem – solving therapy จะช่วยในการให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีใหม่ๆในการรับมือ การแก้ปัญหา (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
22. หญิงคนหนึ่ง อายุ 38 ปี มาโรงพยาบาล หลังจากพยาบาลฆ่าตัวตายด้วยการกินยาเกินขนาด ผู้ป่วยได้รับการรักษากับนักจิตวิทยาคลินิก 2 สัปดาห์/ครั้ง ใน 6 สัปดาห์ สามีบอกว่าขอแยกทางจากผู้ป่วยและลูกๆ หลังจาก 19 ปีของการแต่งงาน การฆ่าตัวตายของหญิงคนนี้มรเหตุผลมาจากมีปากเสียงกับสามีอย่างรุนแรง เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สิน หลังจากรับไว้ในความดูแล ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย ซึมเศร้า ไม่พูด ไม่เคลื่อนไหว (ช้า) ไม่สนใจดูแลตนเอง หล่อนเชื่อว่าปานดำ บนใบหน้า เป็นมะเร็งซึ่งแพร่เข้าไปในสมองและเนื้อเยื่อ การวินิจฉัยของหญิงคนนี้คือ
ก. Bipolar disorder (โรคร่าเริงสลับซึมเศร้า)
ข. Depression with melancholia (โรคซึมเศร้าและหดหู่)
ค. Dysthimic disorder (จิตซึมเศร้า)
ง. Major depression (ซึมเศร้ารุนแรง)
คำตอบ ข้อ ง. ผู้ป่วยมีอาการแสดงหลายอย่างของภาวะซึมเศร้า เช่น ไม่เคลื่อนไหว ชอบอยู่นิ่งๆ ไม่สนใจตนเอง ไม่นอน พยายามฆ่าตัวตาย เพราะภาวะหลงผิดแต่ผู้ป่วยไม่มีภาวะของอารมณ์แปรปรวน
Depression กับ Melancholia, มีอาการคล้ายกับ Major depress แต่ส่วนมากโรคนี้จะไม่ได้มีเหตุมาจากการสูญเสียและไม่มีภาวะหลงผิด ส่วน Dysthymic disorder เป็นโรคเรื้อรังเพราะไม่ใช่โรคจิตในผู้ป่วยรายนี้มีการสูญเสีย และเกิดภาวะซึมเศร้ารุนแรงซึ่งจะเกิดขึ้นใน ช่วง 2 ปี หลังสูญเสีย
(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
23. หญิงคนหนึ่ง เข้ารับการรักษาที่สถานบริการจิตเวชหลังจากพยายามฆ่าตัวตายโดยใช้ยาเกินขนาดไม่สำเร็จ หญิงคนนี้ มีอาการ ซึมเศร้า และเคลื่อนไหว เชื่องช้า วินิจฉัยการพยาบาลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยเมื่อแรกรับคือข้อใด
ก. พร่องโภชนาการได้รับน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย
ข. ไม่สามารถรับมือ (แก้ปัญหา)กับปัญหาด้วยตนเอง
ค. เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง (ฆ่าตัวตาย)
ง. บกพร่องการดูแลตนเอง (ความสามารถมนการปฏิบัติกิจวัตรประจำลดลง )
คำตอบ ข้อ ค. เพราะ ในระยะแรกรับสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วย คือ ความปลอดภัยเพราะผู้ป่วยทำร้ายตนเอง เนื่องจากล้มเหลวจากการฆ่าตัวตายและยังคงมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่และอาจทำให้ผู้ป่วยคิดทำการฆ่าตัวตายซ้ำ ภาวะพร่องโภชนาการเป็นปัญหาที่สำคัญแต่ยังไม่ใช่ปัญหาแรก ข้ออื่นๆก็เช่นกัน
(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
24. นางสุดสวยเข้ารับการรักษาด้วย อาการพยายามฆ่าตัวตายโดยการกินยานอนหลับ ได้รับการรักษาภาวะซึมเศร้า หลังจากจากสามีแยกทางหลังแต่งงานกันมา 23 ปี ในระหว่างที่เธอเข้ารับการรักษา เธอดูเหนื่อยล้ามาก ดูเศร้าและเคลื่อนไหวช้า การวางแผนให้กิจวัตรประจำวันของเธอเป็นปกติที่สุด คือข้อใด
ก. ให้นอนพัก
ข. ให้การรักษาด้วยกิจกรรมอย่างเต็มที่
ค. ให้สามีมาเยี่ยมพูดคุยในระยะเวลาสั้นๆ
ง. จัดตารางเวลาให้ได้รับการพักผ่อนและการรักษาด้วยกิจกรรม
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ ขณะที่ผู้ป่วยอ่อนเพลีย สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม คือ การจัดตารางเวลาให้ได้พักและทำกิจกรรมพอดีกัน
(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
25. พยาบาลคาดว่านางสุดสวยไม่ยอมรับความวิตกกังวลของตนเอง เมื่อประเมินผู้ป่วยรายนี้ สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือข้อใด
ก. อาการกระสับกระส่าย หงุดหงิด ไม่อยู่กับที่
ข. เคาะเท้ากับพื้น
ค. การบีบมือทั้ง 2 ข้าง
ง. ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วย
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ การเคาะเท้า บีบมือ อยู่ไม่นิ่ง แสดงว่ากังวล แต่จะรู้ว่ากังวลมาต้องคุยแบบ Emphathy
(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
26. เหมือนดาวอายุ 46 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพราะว่าครอบครัวของเธอไม่สามารถดูแลจัดการในเรื่องการล้างมืออย่างน้อย 30 ครั้ง/วัน พยาบาลสังเกตเห็นที่มือของเหมือนดาวว่ามือเธอเป็นสีแดงตกสะเก็ดและมีรอยถลอก เป้าหมายสำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยรายนี้ คือ
ก. ลดจำนวนครั้งในการล้างมือใน 1 วัน
ข. จำกัดจำนวนครั้งในการล้างมือ
ค. เตรียมการดูแลผิวหนัง
ง. ห้ามล้างมือ
คำตอบ ข้อ ก. เพราะโรคย้ำคิดย้ำทำพฤติกรรมที่แสดงความวิตกกังวล การลดจำนวนครั้งของการล้างมือเป็นสิ่งที่วัดได้ที่เป็นรูปธรรม
(จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี )
27. วีนัสเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชด้วยอาการล้างมือบ่อยๆ ก่อนการสวดมนต์ เมื่อนัดตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะให้ผู้ป่วยมาตรงเวลาพยาบาลควรทำอย่างไร
ก. เตือนให้เธอทราบถึงเวลานัดบ่อยๆ
ข. จำกัดจำนวนครั้งในการล้างมือ
ค. บอกให้เธอมีความรับผิดชอบในการตรงต่อเวลา
ง. เตรียมเวลาเผื่อไว้สำหรับสวดมนต์ให้เสร็จก่อน
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ การเตรียมเผื่อเวลาไว้ให้ล้างมือก่อนการสวดมนต์จะช่วยลดความวิตกกังวล
(จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี )
28. เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคย้ำคิดย้ำทำ เธอล้างมือวันละหลายๆครั้ง การรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายนี้ คือ
ก. ไม่กำหนดแบบแผนตารางกิจกรรม
ข. กำหนดแบบแผนตารางกิจกรรม
ค. การให้คำปรึกษาแบบเอาจริงเอาจัง
ง. กล่าวตำหนิทุกครั้งที่ล้างมือ
คำตอบ ข้อ ข. เพราะ การกำหนดแบบแผนกิจกรรมให้แน่นอนจะช่วยลดความวิตกกังวล
(จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี )
29. หญิงคนหนึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช เธอเดินอยู่บนถนนหลวง สิ่งที่เห็นคือเธอผอม ผมเผ้ายุ่งเหยิง และสกปรก การประเมินภาวะโภชนาการ ผู้ป่วยรายนี้ คือ
ก. สังเกตการณ์รับประทานอาหารของเธอ
ข. ปรึกษาขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการรักษา
ค. ตรวจว่าได้รับอาหารจำนวนเท่าใด
ง. เปรียบเทียบน้ำหนักแรกรับกับน้ำหนักที่เคยเป็น
คำตอบ ข้อ ง. เพราะ น้ำหนักปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัวปกติ จะบอกภาวะโภชนาการได้ดีที่สุด น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงในขณะผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ผิดปกติไม่บอกนิสัยการกิน การสังเกตนิสัยการกินเป็นวิธีที่ดีที่สุดแต่ไม่บอกภาวะโภชนาการ (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
30. นางดี อายุ 34 ปี เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวช หลังจากตำรวจนำส่งแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล เพราะเดินอยู่บนถนน พยาบาลสังเกตเห็นที่หน้าและมือทั้งสองข้างมีสีแดงและผิวหนังถลอก ผมยุ่งเหยิงเป็นก้อน มีประวัติว่าอยู่กับคนขับรถที่รู้จักแต่ชื่อ ในโมเต็ลมา 1 อาทิตย์ และอยู่คนเดียวมา 3 วัน โดยบอกไม่ได้ว่าทำอะไร เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ ผู้ป่วยล้างหน้าและมือหลายครั้งแต่ไม่ยอมอาบน้ำ การวินิจฉัยการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยรายนี้คือ
ก. ความสมบูรณ์ของผิวหนังลดลง
ข. กระบวนการคิดเปลี่ยนแปลงไป
ค. การเผชิญปัญหาไม่ดี
ง. การแยกตัวจากสังคม
คำตอบ ข้อ ค. เพราะ เป็นการวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ครอบคลุมปัญหาที่พบทั้งหมด การพยาบาลคือ ช่วยให้ผู้ป่วยสามรถ เปลี่ยนพฤติกรรมทางบวก และเป็นเกณฑ์ในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล การดูแลผิวหนัง (ล้างมือ ล้างหน้าบ่อยๆ )เป็นปัญหาที่แก้ไขยาก จากประวัติผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดได้ จนกว่าจะปรับพฤติกรรมทางบวกได้ (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของแมกนีเซียม
A. Neuromusclular ativity
B. Formation of bone and teeth
C. Contraction of myocardium
D. Transportation of sodium and potassium
ตอบ ข้อ B.
2. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดภาวะแมกนีเซียมต่ำ
A. Alcohlism
B. Hypokalemia
C. Hyperalimentation
D. CRF
ตอบ ข้อ D.
3.ภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโตรลัยท์ในข้อใดที่มักพบร่วมกับภาวะแมกนีเซียมต่ำ
A. Hyponatremia
B. Hyperkalemia
C. Hypocalcemia
D. Hyperphosphatemia
ตอบข้อ C.
4. ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะ Digitalis toxicity จากภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรลัยท์ในข้อใด
A. Hypomagnesemia
B. Hypercalcemia
C. Hyperkalemia
D. Hyperphosphatemia
ตอบ ข้อ A.
5. นาย ก.มีภาวะแมกนีเซียมต่ำได้รับการรักษาด้วย 10 ml.MgSO4 in 5%D/N/2 1000 ml การให้การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นที่สำคัญคือข้อใด
A. ประเมิน Trousseau's and Chvostek's signs
B. ให้สารละลายซ้ำเพื่อป้องกันการเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก
C. ให้สารน้ำเพื่อเพิ่มการขับน้ำออกทางไตป้องกันการคั่งของแมกนีเซียม
D. ประเมิน Urine output หากออกน้อยกว่า 25 ml/hr ให้รายงานแพทย์
ตอบ ข้อ D.
6. นาย ข.ได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะแมกนีเซียมต่ำ ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลการประเมินสภาพที่พบได้ในผู้ป่วยรายนี้
A. Decreased reflex and lethargy
B. Prolonged intravenous therapy
C. Tremors or twitching of face
D. EKG: Inversion T wave and ST depressed
ตอบ ข้อ A.
7. ข้อใดเป็นการพยาบาลที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแมกนีเซียมต่ำ
A. การให้เลือดทดแทน
B. การจำกัดสารน้ำที่ได้รับ
C. การให้ยาขับปัสสาวะ
D. การป้องกันและดูแลการชัก
ตอบ ข้อ D.
8. ภาวะใดเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแมกนีเซียมสูง
A. Staruation
B. Diabetic Ketoacidosis
C. Increased Calcium intake
D. Prolong use of potassium wasting diuratics
ตอบ ข้อ B.
9. ข้อมูลการประเมินร่างกายข้อใดพบในแมกนีเซียมสูง
A. Tachycardia
B. Hypertension
C. Hyperirritability
D. Decreased respiration
ตอบ ข้อ D.
10. พยาบาลควรให้คำแนะนำผู้ป่วยไตวายเรื้อรังหลีกเลี่ยงยา Antacid centainning magnesium Salt เพราะว่า
A. เกิดการตกตะกอนมีการทำลายไตเพิ่มขึ้น
B. อาจเกิดภาวะแมกนีเซียมสูง จากการขับน้ำลดลง
C. อาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากโปแตสเซียมต่ำ
D. ทำให้เกิดภาวะ Calcium ต่ำจากการเพิ่มการขับออกทางปัสสาวะ
1. ข้อใดเป็นลักษณะของกฎหมาย
ก. บังคับใช้กับบางกลุ่มโดยเฉพาะเจาะจง
ข. เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐบาล
ค. มีการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะ
ง. ต้องบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายกลุ่มใดจัดอยู่ในประเภทกฎหมายมหาชน
ก. กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์
ข. กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายวิชาชีพ
ค. กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายวิชาชีพ
ง. กฎหมายวิชาชีพ กฎหมายจราจร กฎหมายผู้บริโรค
3. กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีความสำคัญต่อการประกอบวิชาชีพ ท่านคิดว่าข้อใดถูกต้องที่สุด
1. เป็นการรักษามาตรฐานคุณภาพของการบริการพยาบาล
2. เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการมารับบริการ
3. เป็นความต้องการของผู้ซื้อบริการ
4. เป็นความต้องการของผู้รับบริการ
ก. 1,2,3 ข. 2,3,4
ค. 3,4,1 ง. 1,2,4
4. จรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึงข้อใด
ก. กฎหมายที่วิชาชีพต่าง ๆ กำหนดขึ้นเป็นข้อปฏิบัติ
ข. ข้อกำหนดสำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติในวิชาชีพต่าง ๆ
ค. ข้อกำหนดที่สังคมต้องการให้วิชาชีพต่าง ๆ ปฏิบัติ
ง. กฎหมายที่บ้านเมืองกำหนดขึ้นให้วิชาชีพต่าง ๆ ปฏิบัติ
5. การป้องกันและการแก้ปัญหาด้านจริยธรรมสำหรับพยาบาล ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. การให้ความรู้แก่นักศึกษาและครูต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่าง
ข. การสร้างให้เกิดในจิตใจของแต่ละบุคคล
ค. การสร้างกฎระเบียบต่าง ๆ ให้บุคคลปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
ง. การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม
6. การปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีมาตรฐานและดีที่สุดไม่เลือกปฏิบัติเป็นจรรยาบรรณที่มีต่อ
ก. เพื่อนร่วมงาน
ข. สถาบัน
ค. วิชาชีพพยาบาล
ง. ผู้รับบริการ


7. เพื่อเป็นการรักษาจรรยาบรรณในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของตนเอง สิ่งที่ควรคำนึงถึงอยู่เสมอคือ
ก. จริยธรรม
ข. ศีลธรรม
ค. วินัย
ง. ระเบียบและคำสั่ง
8. ปัจจัยใดที่เป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดปัญหาทางจริยธรรมทางการพยาบาลมากที่สุด
ก. ความคาดหวังของผู้รับบริการ
ข. ความต้องการของผู้ซื้อบริการ
ค. ประชาชนมีความรู้ความต้องการสูง
ง. องค์กรวิชาชีพมีความคาดหวังมากขึ้น
9. ข้อใดแสดงถึงการให้บริการอย่างได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงของพยาบาล
ก. นางสาวศิรินาถ ให้การพยาบาลเฉพาะรายที่ตนเองได้รับผิดชอบเท่านั้น
ข. นางสาวศิริโฉม ให้การพยาบาลผู้ป่วยและพูดจาไพเราะกับทุกคน
ค. นางสาวศิรินภา ให้การพยาบาลผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เพราะผู้สูงอายุไม่ทำตามคำสั่ง
ง. นางสาวศิริสุดา มักเดินไปสอบถามอาการและให้บริการกับผู้ป่วยที่พูดเก่ง ไพเราะและมีของฝากจากญาติเสมอ
10. พยาบาลห้องคลอดเวรดึก ได้มอบหมายให้น้องนักศึกษาพยาบาลทำคลอดและอาบน้ำเด็ก หลังจากนั้น 1 ชม. เด็กมีผื่นและบวมแดงที่ขาทั้ง 2 ข้าง เมื่อสอบสวนพบว่าเกิดจากน้ำร้อนเกินไป ทำให้ต้องรักษาต่อจนหายจึงจะกลับบ้านได้ ในกรณีนี้มารดาของเด็กมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร
ก. มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้คือค่ารักษาพยาบาล
ข. มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้คือค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียโอกาส
ค. มีสิทธิแต่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ เพราะเด็กได้ยกเว้นค่ารักษาพยาบาล
ง. มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้จากทางโรงพยาบาลได้