การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
ระบบประสาท
ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย
ไขสันหลัง สมอง เส้นประสาทไขสันหลัง(31คู่) เส้นประสาทสมอง(12คู่)
ระบบประสาทอัตโนมัติ
เส้นประสาทไขสันหลัง
- cervical spinal nerves 8 คู่
- thoracic spinal nerves 12 คู่
- lumbar spinal nerves 5 คู่
- sacral spinal nerves 5 คู่
- coccygeal spinal neves 1 คู่
ระดับของกระดูกสันหลัง
ระดับของกระดูกสันหลัง ตรงกับ ระดับไขสันหลัง
คอ (cervical) C spine + 1
อกที่ T 1 – 6 T spine + 2
อกที่ T 7 – 9 T spine + 3
อกที่ T 10 L 1 – 2 cord segments
อกที่ T 11 L 3 – 4 cord segments
อกที่ T 12 L 5 segments
เอวที่ L 1 conus medullaris
ลักษณะภายในของไขสันหลัง
gray matter ประกอบด้วย ตัวเซลล์ประสาท และเซลล์สนับสนุน
white matter ประกอบด้วย ใยประสาท ทำหน้าที่นำกระแสประสาทขึ้นลงเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทในไขสันหลังกับสมอง
ความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
กล้ามเนื้อ เส้นประสาท
trapezius C3,C4 และ spinal part ของเส้นประสาทสมองที่ 11
Deltoid C5, C6
Biceps C5, C6
Triceps C6, C7, C8
Thenar, Hypothenar C8, T1
Abdominal T6 – L1
Quadriceps L2, L3, L4
Extensor hallucis L4, L5, S1
Gastronemius L5, S1, S2
Recyal sphincter S3, S4
ไขสันหลังกับระบบประสาทอัตโนมัติ
Sympathetic
เซลล์ประสาทอยู่ในปล้องไขสันหลังระดับอก – เอว ทำหน้าที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การหนีหรือการต่อสู้ (flight or fight) โดยทำให้ม่านตาขยาย การหายใจเร็วขึ้น การเต้นของหัวใจมากขึ้น เพิ่มเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ
Parasympathetic
มีเซลล์ประสาทอยู่ในปล้องไขสันหลังระดับ craniosacral ทำหน้าที่ควบคุมการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ และการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
การบาดเจ็บไขสันหลัง
ไขสันหลังถูกทำลายจากแรงกระทำด้วยความรุนแรง/ความเร็ว
ทำให้แนวระดับกระดูกสันหลังหักหรือเคลื่อน
มีการกดไขสันหลังหรือไขสันหลังฉีกขาด
มีการบวมหรือมีเลือดออกในเนื้อเยื่อของไขสันหลัง
อาจเป็นเพียงชั่วคราวหรือถาวร ขึ้นกับ ความรุนแรงของการบาดเจ็บ
ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บไขสันหลัง
เพศชาย อายุในวัยรุ่น อายุ 15 – 35 ปี
การดื่มสุรา ทำให้เสียความสามารถในการรับรู้
การใช้สารเสพติด ทำให้เกิดมึนเมา
การใช้ยวดยานพาหนะที่ไม่พร้อม / ไม่ปลอดภัย
สาเหตุของการบาดเจ็บไขสันหลัง
Traumatic
อุบัติเหตุขับรถยนต์ / มอเตอร์ไซด์
ถูกยิง
ถูกแทง
การตกจากที่สูง
กีฬาประเภทที่มีความรุนแรงสูง
Non – Traumatic
ช่องไขสันหลังตีบแคบ ทำให้กดไขสันหลัง / ประสาทไขสันหลัง
การอักเสบของเส้นประสาท (myelitis) ----> การติดเชื้อ / ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น โปลิโอ
กระดูกพรุน (osteoporsis)
เนื้องอกบริเวณช่องอก ท้อง ---> มีการกดทับ / กดเบียดไขสันหลัง
โรคหลอดเลือด (vascular diseases) มีการแตก ---> ไขสันหลังขาดเลือด
การบาดเจ็บของไขสันหลัง
- ไขสันหลังระดับคอ มีโอกาสบาดเจ็บมากกว่าส่วนอื่น เช่น การโหม่งพื้น คอสะบัดไปด้านหลังอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่เกิดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 1 – 2, 4 – 6 (เป็นบริเวณที่เคลื่อนไหวและง่ายต่อการบาดเจ็บ
- ไขสันหลังระดับทรวงอก พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากการถูกยิงหรือถูกตีบริเวณกระดูกสันหลังโดยตรง
- ไขสันหลังระดับทรวงอกต่อกับเอว พบได้บ่อยเช่นเดียวกับระดับคอ มักเกิดที่ T 11 – L 2
สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการตกจากที่สูงโดยหลังกระแทกพื้น ถูกยิง หรือถูกแทงที่หลัง
กลไกการบาดเจ็บ
การบาดเจ็บจะรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับ
---> แรงที่มากระทำต่อกระดูกสันหลัง
---> ลักษณะที่กระทำ
- ไขสันหลังบาดเจ็บแบบก้มมากเกินไป (Hyperflexion injury) ---> ศีรษะถูกแรงที่มีความเร่ง การถูกกระแทกบริเวณด้านหน้า ---> ทำให้คองุ้มหรือก้มมากเกินไป
ทำให้มีการฉีกขาดของเอ็นที่ตรึงไขสันหลัง
กระดูกสันหลังเคลื่อนไปทางด้านหน้า
การแบ่งความรุนแรงของการบาดเจ็บไขสันหลัง
1. ไขสันบาดเจ็บแบบสมบูรณ์ (complete injury)
---> สูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อ
---> สูญเสียการรับความรู้สึกบริเวณเดียวกับกระดูกสันหลังที่มีการหักหรือที่ต่ำกว่าที่ไขสันหลังมีการบาดเจ็บ
---> สูญเสียประสาทรับความรู้สึกบริเวณ ทวารหนักและรอบ ๆ ทวารหนัก
ตัวอย่างของ complete injury
ผู้ที่ไขสันหลังบาดเจ็บแบบสมบูรณ์ระดับเอว
ลักษณะไขสันหลังจะถูกทำลายทั้งหมด
มีการสูญเสียการทำงานของการเคลื่อนไหว
สูญเสียการรับความรู้สึกและรีเฟล็กซ์
2. ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บบางส่วน (incomplete injury)
---> ยังมีการทำงานของกล้ามเนื้อและ / หรือการรับความรู้สึกของบริเวณที่ต่ำกว่าไขสัน
หลังที่มีการบาดเจ็บ เช่น ผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักส่วนคอระดับ 5 (# C6) แต่มีการรับความรู้สึกของเส้นประสาทไขสันหลังส่วนคอที่ 6 (C6) หรือพบว่าคงเหลือการทำงานบางส่วนของประสาทสั่งการ (motor) และสามารถขมิบกล้ามเนื้อหูรูดของทวารหนักได้
กลไกของการบาดเจ็บไขสันหลัง
การบาดเจ็บปฐมภูมิของไขสันหลัง
---> ไขสันหลังได้รับความกระทบกระเทือน (cord concussion) ทำให้เกิดการขัดขวางการส่งต่อพลังประสาทของไขสันหลัง หยุดชะงักไปโดยไม่มีการสูญเสียโครงสร้าง การติดต่อระหว่าสมองกับอวัยวะเป้าหมายหยุดชะงักลงชั่วขณะ ทำให้เกิดอัมพาตของร่างกายส่วนที่อยู่ต่ำกว่าตำแหน่งบาดเจ็บทันทีเป็นอยู่นาน 24 – 48 ชั่วโมง เมื่อพ้นระยะกระทบกระเทือนแล้วไขสันหลังจะกลับมาทำงานเป็นปกติและอาการหายไปอย่างสมบูรณ์
---> ไขสันหลังชอกช้ำ (cord contusion) ลักษณะไขสันหลังชอกช้ำจะบวมและมีเลือดออกเป็นจุด ๆ บนผิวและภายในไขสันหลัง
---> ไขสันหลังฉีกขาด (cord laceration) อาจฉีกบางส่วน (partial) หรือฉีกขาดออกจากกัน (complete)
อาการแสดงมี 2 แบบ
ไขสันหลังเสียหน้าที่โดยสิ้นเชิง จะมีอาการช็อกระยะแรก เมื่อระยะผ่านไป deep tendon reflex กลับคืน และมี barbinski’s sign
ไขสันหลังเสียหน้าที่บางส่วน การรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ลดลงและกำลังกล้ามเนื้อของแขนขาที่ควบคุม ไขสันหลังระดับต่ำกว่าที่ได้รับบาดเจ็บยังทำงานได้ แต่อ่อนแรงกว่าปกติซึ่งมีโอกาสจะฟื้นเป็นปกติได้
---> มีเลือดออกในไขสันหลัง (hematomyelia) ส่วนเทาเป็นก้อนอาจแผ่ขึ้นลงได้ 1 – 2 ระดับ ทำให้เกิดกลุ่มอาการไขสันหลังถูกกด (central cord syndrome)
---> ไขสันหลังถูกกดอัด (cord compression) มีชิ้นกระดูกที่แตกหักหรือมีหมอนรองกระดูก และก้อนเลือด เคลื่อนไปกดทำให้ไขสันหลังขาดเลือดไปเลี้ยงเกิดอาการเน่าตาย
---> ไขสันหลังถูกตัด (cord transection) รุนแรงที่สุด ระยะแรกจะมีอาการช็อคเนื่องจากไขสันหลังส่งกระแสประสาทไม่ได้
การบาดเจ็บทุติยภูมิของไขสันหลัง (secondary spinal cord injury)
ใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นสัปดาห์ภายหลังไขสันหลังบาดเจ็บ จะมีการบวมทำให้หลอดเลือดเล็ก ๆ บิดตัวมีการเปลี่ยนแปลงของ perfusion บริเวณบาดเจ็บทำให้เซลล์ประสาทถูกทำลายมากขึ้นและขาดเลือดเพิ่มขึ้น การบวมของไขสันหลังเป็นอยู่นาน 2 – 3 วัน ค่อย ๆ ลดลงภายใน 5 – 7 วันหลังการบาดเจ็บ เรียก post – traumatic syingomyelia ปฏิกิริยาการอักเสบจะดีขึ้นประมาณ 9 วันหลังการบาดเจ็บ
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง
ระบบประสาทส่วนกลาง
---> มีการตัดขาดทั้งหมดหรือบางส่วนระหว่างการทำงานระหว่างสมองและไขสันหลัง
---> สูญเสียการทำงานสอดประสานของ corticospinal tract
ไม่สามารถรับความรู้สึก ที่ส่งผ่านไขสันหลังไปยังสมองได้ สมองก็ไม่สามารถสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในระดับที่ต่ำกว่าการบาดเจ็บของไขสันหลังได้
สูญเสียการรับความรู้สึก การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
ระบบประสาทส่วนปลาย
เส้นประสาทไขสันหลังสูญเสียหน้าที่ในการทำงาน
---> เสียการรับความรู้สึกจากผิวหนังเข้าสู่ไขสันหลัง
---> ระดับที่ต่ำกว่าระดับการบาดเจ็บจึงไม่มีความรู้สึก / ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ระบบประสาทอัตโนมัติ
---> ยับยั้งการทำงานของประสาทซิมพาเทติค
---> มีผลต่ออวัยวะภายใน ได้แก่ หัวใจ หลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์
อวัยวะดังกล่าวไม่มีการกระตุ้นทำงานจากประสาทซิมพาเทติค
ระบบหายใจ
Phrenic nerve (จาก C3 – 5) ไม่สามารถทำงานได้
---> กล้ามเนื้อกะบังลมไม่ทำงาน
---> หายใจไม่มีประสิทธิภาพ
ถ้า Phrenic nerve ยังทำงาน แต่มีการบาดเจ็บของ T1 – T10
---> สูญเสียการทำงานของเส้นประสาทที่มายังกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครง (Intercostal muscle) ซึ่งช่วยในการหายใจลึก ๆ การไอและการถอนหายใจ (sign) มีผลทำให้เกิดภาวะปอดแฟบ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
---> มีการขยายตัวของหลอดเลือด เลือดไหลกลับเข้าสู่ส่วนกลางลดลง
---> มี decrease cadiac output เนื่องจากสูญเสียการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติคระดับที่ต่ำกว่าการบาดเจ็บ
Spinal shock or neurogenic shock
---> การสูญเสียหน้าที่ของประสาทซิมพาเธติคที่ควบคุมหลอดเลือด
---> ไม่สามารถยับยั้งการทำงานของประสาทซิมพาเธติค
มีการขยายตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เลือดไหลกลับลดลง (low cardiac output inadequate tissue perfusion and cellular oxygenation)
ระบบทางเดินอาหาร
สูญเสียการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติค
การบีบตัวของลำไส้ลดลง
ลำไส้ไม่เคลื่อนไหว
ท้องอืด
ระบบขับถ่ายปัสสาวะและสืบพันธุ์
---> กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะคลาย / บีบตัว
---> ปัสสาวะคั่งในกระเพาะปัสสาวะ
---> กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมาก
---> การตอบสนองทางเพศเปลี่ยนไป
ระบบกล้ามเนื้อ
การบาดเจ็บไขสันหลังระดับคอทำให้
---> เป็นอัมพาตทั้งตัว (tetraplegia) หรือ (quadriplegia) อัมพาตครึ้งท่อนล่าง (paraplegia)
---> ไม่สามารถยกแขนได้
ระบบผิวหนัง
---> อุ่นและแห้ง เนื่องจากสูญเสียการทำงานของประสาทซิมพาเธติค
แนวทางการประเมินสภาพ
---> การซักประวัติและการตรวจร่างกาย การตรวจพิเศษต่าง ๆ
--> radiographic evaluation
---> computerized tomography
---> magnetic resonance imaging
แนวทางการรักษา
---> ป้องกันมิให้มีการทำลายประสาทกระดูกเอ็นมากขึ้น
---> รักษาสภาพทางระบบประสาทให้กลับคืนมาเร็วที่สุด
การรักษาการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย (hemodynamic stability)
---> รักษาด้วยสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
---> ร่วมกับการได้รับยาหดรัดตัวของหลอดเลือด ได้แก่ low dose dopamine
---> ต้องระวังการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำมากเกินไป
การรักษาเพื่อลดภาวะไขสันหลังถูกกดทับและให้อยู่นิ่ง
----> กระดูกสันหลังอยู่นิ่ง เช่น ใส่ปลอดคอแข็ง (hard collar) การยก เคลื่อนย้ายแบบท่อนซุง
---> การดึงศีรษะด้วยแรงดึงน้ำหนัก (skull traction)
การรักษาด้วยยา
Methylprednisolone ---> ส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตและออกซิเจน ส่งเสริมการทำหน้าที่ของ cellular sodium – calcium pump ควรให้ยานี้ใน 8 ชั่วโมง ภายหลังการบาดเจ็บไขสันหลังจึงจะได้ผลดี
การรักษาด้วยการผ่าตัด
---> เพื่อจัดกระดูกสันหลังที่หักให้เข้าที่
---> ขจัดกระดูกชิ้นที่กดไขสันหลังออก
open reduction internal fixation ด้วยวัสดุ เช่น ลวด (wire), Harrington rod หรือทำผ่าตัดลามิน่า (laminectomy) หรือเชื่อมกระดูกที่หักให้ติดแน่น (fusion)
การรักษาเพื่อฟื้นฟูสภาพ
ช่วยให้ผู้บาดเจ็บไขสันหลังสามารถกลับสู่การดำรงชีวิตได้ตามระดับความสามารถและรอยโรคที่เกิดขึ้น
---> การออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
---> การฝึกทักษะเพื่อช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
---> การใช้กายอุปกรณ์และเครื่องช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น weel chair
การพยาบาลผู้ป่วยไขสันหลัง…ต้องใช้กระบวนการพยาบาล
การประเมินสภาพ
ข้อมูลอัตนัย (subjective data)
---> อาการสำคัญ
---> ประวัติความเจ็บป่วยปัจจุบัน
---> ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ
ข้อมูลปรนัย
สัญญาณชีพ : ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้า ลักษณะการหายใจ การเคลื่อนไหวของทรวงอก,หน้าท้อง
การตรวจร่างกาย :
neurological signs ระดับความรู้สึกตัว ผิวหนังอุ่นแห้ง ไม่มีรีเฟลกซ์
ประเมินบริเวณกระดูกสันหลังที่มีการบาดเจ็บ การบาดเจ็บของอวัยวะอื่น
ความสามารถในการเคลื่อนไหว กำลังกล้ามเนื้อ
---> อาการปวดหลัง คอ ชานิ้วมือ/นิ้วเท้า
---> เคลื่อนไหวแขนขาไม่ได้
---> แขนขาอ่อนแรงในระดับสมมาตร
การรับความรู้สึก (sensory perception)
ทดสอบตั้งแต่ส่วนปลายจนถึงส่วนต้นของร่างกาย (examine distal to proximal)
การตอบสนองด้วยแรงกด (response to pressure) การทดสอบด้วย proprioception (toe up or down)
การตอบสนองต่อความเจ็บปวด (response to pain) ใช้เข็มกลัดเล็ก ๆ ตรวจสอบบริเวณผิวหนังหรือทดสอบรอบ ๆ รูทวารหนัก
รีเฟล็กซ์ ได้แก่ buibocavernosus reflex โดยการกระตุกสายปัสสาวะหรือกด gland penis เบา ๆ ขณะเดียวกันจะมีการหดตัวบริเวณทวารหนัก ซึ่งแสดงว่าได้ผลบวก
ในกรณี incomplete cord injury หรือ พ้นระยะ spinal shock จะมีรีเฟล็กซ์
หาก Bulbocavernosus reflex ได้ผลลบ หรือไม่มีรีเฟล็กซ์พบในกรณีที่พยาธิสภาพเป็น complete cord injury
ผลการตรวจพิเศษ
การถ่ายภาพรังสีบริเวณกระดูกสันหลังที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บ
CT scan
ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance image : MRI)
การพยาบาลในระยะฉุกเฉิน
เป็นการดูแลภายหลังเกิดอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยที่ทำให้ไขสันหลังบาดเจ็บซึ่งต้องให้การปฐมพยาบาลตั้งแต่จุดเกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากที่เกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาล (Pre – hospital)
Pre – hospital care
ประเมินอาการบาดเจ็บไขสันหลัง
สอบถามอาการปวด ตึง คอ หลัง
จัดท่าให้คอและสันหลังอยู่นิ่ง
---> ให้นอนราบ บนพื้นกระดานแข็ง ๆ
---> ใส่ hard collar หรือ หากระดาษหรือหมอนทรายวางประคองคอด้านข้าง
การเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน : อัมพาตเนื่องจากไขสันหลังอาจถูกกดทับหรือบาดเจ็บจากกระดูกสันหลังหัก
การพยาบาลในระยะฉุกเฉินและวิกฤติ
เป็นระยะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ภายหลังไขสันหลังบาดเจ็บ เป็นสถานการณ์คับขัน ผู้ป่วยมีโอกาสดีขึ้นหรือมีโอกาสเสียชีวิตได้เท่า ๆ กัน
การพยาบาลจึงมุ่งเน้นเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและเพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลวหรือคงไว้ซึ่งการทำงานของอวัยวะในร่างกาย
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
- เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อกระบังลม
- เสียงต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงจากการบาดเจ็บไขสันหลังในระดับคอ
- เสี่ยงต่อการหาใจขาดประสิทธิภาพเนื่องจากการบาดเจ็บไขสันหลังระดับคอ
- เสี่ยงต่อการขาดประสิทธิภาพการทำทางเดินหายใจให้โล่งเนื่องจากกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงจากสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อกระบังลม
- เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอเนื่องจากหลอดเลือดขยายตัวจากการสูญเสียการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติค
- ผู้ป่วยวิตกกังวลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและความเจ็บป่วยฉุกเฉิน
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน : ไขสันหลังถูกกดทับหรือทำลายมากขึ้นเนื่อง
จากกระดูกสันหลังหัก
- เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน : แผลกดทับเนื่องจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง
- แบบแผนการทำงานของลำไส้เปลี่ยนแปลง : ท้องอืด อาเจียน เนื่องจากระบบประสาทซิมพาเธติคไม่ทำงาน
- แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลงเนื่องจากระบบประสาทซิมพาเธติคไม่ทำงาน
- อาจเกิดภาวะ autonomic hyperreflexia เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะโป่งพองหรือท้องผูก
- ผู้ป่วยวิตกกังวลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและความเจ็บป่วยวิกฤติ
- ครอบครัววิตกกังวล/เครียดเนื่องจากความเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะฟื้นฟู
เป็นระยะที่อวัยวะมีการฟื้นสภาพอาจจะกลับมาทำหน้าที่ใกล้เคียงกับปกติหรือบางอวัยวะเสียหน้าที่ แต่ต้องคงสภาพอวัยวะที่สามารถทำหน้าที่ได้ให้ทำหน้าที่ต่อไปซึ่งขึ้นกับพยาธิสภาพและรอยโรคของแต่ละบุคคล
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล
- เสี่ยงต่อภาวะปอดบวม ปอดแฟบ เนื่องจากนอนบนเตียงนาน
- เสี่ยงต่อภาวะผิวหนังถูกทำลายหรือเกิดแผลกดทับ ข้อติด กล้ามเนื้อลีบเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเนื่องจากอัมพาตครึ่งท่อน/อัมพาตทั้งตัว
- แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอัมพาต
- แบบแผนการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการบาดเจ็บไขสันหลังและการนอนบนเตียงเป็นเวลานาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น