วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบ

แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบ
(Nursing Practice Guideline in Pneumonia)


เป็นการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบ จากการติดเชื้อภายนอกโรงพยาบาล (Community Acquired Pneumonia)
แบ่งเป็น 2 กรณี
1. ในกรณีที่ผั้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง และได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ขณะที่มาตรวจรักษาที่หอผู้ป่วยนอก อาจมาโรงพยาบาล
ด้วยอาการมีไข้ ไอ เหนื่อยหอบ มีเสมหะ แต่ยังสามารถสื่อสารได้ดี อาการของโรคไม่รุนแรง แพทย์ให้การรักษาและให้รับยากลับ
ไปรับประทานต่อที่บ้าน
การพยาบาล คือการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเรื่อง
- การดูแลตนเอง เรื่องโรคและการดำเนินของโรค
- การปฏิบัติตัว การสังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น เหนื่อยหอบมากขึ้น ไอจัด มีเสมหะมาก เสมหะเปลี่ยนสี มีไข้สูง
- การรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่องจนครบ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ให้กลับมาพบแพทย์อีกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เช่น อากาศชื้น การสัมผัสกับบุคคลที่มีการติดเชื้ออยู่แล้ว
2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง แพทย์ให้ตรวจและวินิจฉัยแล้วแนะนำให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาล
- พยาบาลที่ OPD หรือ ER ประเมินอาการผู้ป่วยว่ามีอาการรุนแรงระดับใด สิ่งที่ต้องประเมินคือ ระดับความรู้สึกตัว อาการไข้
อาการเหนื่อยหอบ Vital Signs การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น อาการและอาการแสดงอื่นๆ
อาการรุนแรงแต่ไม่มาก อาการรุนแรงมาก
- ระดับความรู้สึกตัว สามารถถาม-ตอบได้ - การตอบสนองต่อการรับรู้ลดลง
- มีอาการเหนื่อยหอบบ้าง แต่ไม่มาก - เหนื่อยหอบมาก หายใจเร็ว นอนราบไม่ได้
- Vital signs ปกติ / ผิดปกติบ้างเล็กน้อย - กระสับกระส่าย พูดไม่รู้เรื่อง
- มีไข้ปานกลาง 37.5 – 38.5 องศาเซลเซียส - Vital signs ผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำหรือสูง
- ไอขับเสมหะออกได้เอง - มีไข้สูง > 38.5 องศาเซลเซียส
- ออกแรงได้บ้าง - ไอ มีเสมหะ แต่ไม่สามารถขับเสมหะออกได้
- เมื่อประเมินอาการเบื้องต้นแล้ว ส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาภายในหอผู้ป่วยในโดย
ก. ผู้ป่วยทีอาการรุนแรง แต่ไม่มาก ส่งเข้าหอผู้ป่วยในปอด (ชาย, หญิง, พิเศษ)
ข. ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก พิจารณาส่งเข้าหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Care Unit : RCU)


ก. เมื่อผู้ป่วยถึงหอผู้ป่วย
1. พยาบาลผู้รับผู้ป่วยจะประเมินสภาพผู้ป่วยอีกครั้ง และบันทึกอาการลงในบันทึกทางการพยาบาล (ถ้าประเมินแล้วพบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น
หรือมีภาวะการณ์หายใจล้มเหลว (Respiratory Failure) ให้รายงานแพทย์และพิจารณาส่งผู้ป่วยเข้า RCU)
2. ให้ข้อมูลผู้ป่วยเกี่ยวกับ
- การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่โรงพยาบาล
- การลงนามยินยอมรับการรักษา
- แนะนำสถานที่ ผู้ให้บริการ รวมทั้งแพทย์เจ้าของไข้
- แนะนำเรื่องสิทธิบัตรต่างๆ
- การดำเนินของโรคที่เป็น พร้อมแนวทางการรักษาของแพทย์พอสังเขป
- แนะนำยาที่ผู้ป่วยรับทั้งชนิดรับประทาน และชนิดฉีด รวมทั้งอาการไม่พึงประสงค์(ถ้ามี)
3. การเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ได้แก่
- Complete Blood Count (CBC), Blood Chemistry: BUN, Cr, Electrolyte, SGOT, SGPT, Blood sugar
- การส่งเสมหะเพาะเชื้อ ,AFB
- การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-Ray)
4. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ เพื่อระบายเสมหะ
- แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ
- ดูแลทำกายภาพบำบัด (Postural Drainage) เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยไอ และขับเสมหะออกได้ดี
- ดูแลให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ (ถ้ามี)
5. การดูแลในระยะต่อเนื่อง
- ประเมินอาการและการดำเนินของโรคอย่างต่อเนื่อง พร้อมบันทึกการเปลี่ยนแปลง
- บันทึก Vital signs รวมทั้งอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อประเมินภาวะการติดเชื้อ
- การประเมินภาวการณ์หายใจล้มเหลว (ถ้ามีส่งผู้ป่วยเข้า RCU)
- ลงบันทึกทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
6. เมื่อผู้ป่วยอาการทุเลา วางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การป้องกันการติดเชื้อ
- การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง (จนครบตามแผนการรักษา)
- แนะนำวิธีการไอ และขับเสมหะ อย่างมีประสิทธิภาพ
- แนะนำเรื่องการรับประทานอาหาร และการพักผ่อน
- การมาตรวจตามนัด และอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์


ข. ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก รายงานแพทย์พิจารณาส่งผู่ป่วยเข้า RCU
- เมื่อเข้า RCU
1. พยาบาลผู้รับผิดชอบผู้ป่วยประเมินผู้ป่วยในเรื่องระดับความรู้สึกตัว Vital signs การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
พร้อมทั้งลงบันทึกทางการพยาบาล
2. รายงานแพทย์เจ้าของไข้รับทราบ
3. ในรายที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว (ทั้ง Type I หรือ II ) ให้เตรียมอุปกรณ์ช่วยหายใจ ได้แก่ การเตรียมใส่ท่อช่วยหายใจ เครื่องช่วยหายใจ
และอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ
4. ภายหลังใส่ท่อช่วยหายใจ ให้การพยาบาลผู้ป่วยตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วย ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
5. ดูแลให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
6. เก็บและส่งสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามแผนการรักษาและรายงานผลให้แพทย์ทราบ
- CBC, Blood Chesmistry: BUN, Cr, Electrolyte, SGOT, SGPT, Blood sugar
- การส่ง Sputum AFB, C/S
- Chest X-Ray
- ผล Arterial Blood Gas (ABG)
7. ประเมินปัญหาและให้การพยาบาลแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง
- การดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
- การทำกายภาพบำบัดและการระบายเสมหะ
- การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจและการใช้เครื่องช่วยหายใจ
- การให้การพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
- การให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
8. การพยาบาลผู้ป่วยในระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
- ประเมินความพร้อมของผู้ป่วย
- สนับสนุนและให้กำลังใจ
- ให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิด ขณะผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ
- แนะนำให้ญาติมีส่วนร่วม สนับสนุน และให้กำลังใจผู้ป่วย
9. การให้การพยาบาลผู้ป่วยในระยะหลังถอดท่อช่วยหายใจ
10. การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนย้ายออกจาก RCU
11. ย้ายผู้ป่วยออกจาก RCU หรือจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านจาก RCU โดยให้คำแนะนำตามข้อ ก.(6)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น