ลัทธิวะฮฺฮาบีย์ หรือ ซะละฟีย์ วิธีการสะกดอื่น ๆ วะฮาบีย์ วาฮาบีย์ วาฮาบี ลัทธิวะฮาบีย์หรือซะละฟีย์ก่อตั้งโดยมุฮัมมัด บุตรอับดุลวะฮาบ เกิดในหมู่บ้านอุยัยนะห์ แคว้นนะญัด ในคาบสมุทรอารเบีย เมื่อปี ฮ.ศ. 1111 (ค.ศ. 1699) และเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 1206 (ค.ศ. 1792) เมื่อสมัยยังเป็นหนุ่ม เขาเป็นพ่อค้าที่ฉลาด เดินทางไปค้าขายถึงอิรัก ซีเรีย อิหร่าน และอินเดีย และเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้นในนาม เชค อัลนัจญ์ดีย์ (เชคแห่งนะญัด) สินค้าของเขามีหลายอย่าง เช่น ทาสจากต่างแดน
เขามีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะเป็นผู้นำศาสนา จึงเข้าไปศึกษาศาสนาอิสลามในนครมะดีนะหฺ ในสำนักของมัซฮับฮันบะลีย์ ในขณะเดียวกัน เขาก็ได้ศึกษาตำราของ อิบนุตัยมียะหฺ (1263 – 1328) ชาวซีเรีย ซึ่งเคยถูกเหล่าผู้พิพากษาจาก 4 มัซฮับกับนักปราชญ์รวม 17 คน สั่งประหารชีวิต ต่อมาปล่อยให้ตายในคุก และห้ามเอาศพไปฝังไว้ในสุสานมุสลิม
เชค อัลนัจญ์ดีย์ ชอบและชื่นชมงานเขียนของ อิบนุตัยมียะหฺเป็นอย่างยิ่ง จึงเริ่มฟื้นฟูคำสั่งสอนของ อิบนุตัยมียะหฺ ภายหลังได้เขียนใบปลิวและหนังสือแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านในชนบท เพื่อเผยแพร่ทัศนะคติของตน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเน้นเรื่องการตั้งภาคี โดยเห็นว่าการเยี่ยมเยียนสุสานและการขอพรต่ออัลลอหฺ ณ ที่สุสานเป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอห์ เป็นการกระทำที่ผิดต่อหลักศาสนาอิสลามอย่างใหญ่หลวง
ชาวบ้านดัรอียะหฺ รวมทั้งผู้นำที่มีชื่อว่า มุฮัมมัด บุตรซะอูด (1725-1765) จากเผ่าอุนัยซะหฺ ซึ่งเป็นเผ่าเล็กและไร้อำนาจในอารเบีย ได้ศรัทธาต่อเชคอัลนัจดีย์ และเห็นผลประโยชน์ของลัทธิที่ก่อตั้งโดยบุตรอับดุลวะฮาบนี้ ทั้งสองจึงร่วมกันตั้งขบวนการเผยแพร่ลัทธิ ที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า วะฮาบีย์ โดยบุตรอับดุลวะฮาบตั้งตนเป็น กอฎี (ผู้พิพากษา) ให้ บุตรซะอูด เป็น ฮากิม หรืออิมาม (ผู้ปกครอง) และได้ทำสัญญาว่า ตำแหน่งทั้งสองนี้จะสืบทอดโดยทายาทของสองตระกูลนี้เท่านั้นตลอดไป
ฝ่ายอับดุลวะฮาบ แห่งเผ่าตะมีม ผู้เป็นบิดาของเชค อัลนัจญ์ดีย์ นั้นเป็นผู้รู้แห่งนครมะดีนะหฺ และสุลัยมานพี่ชายของเขา รวมทั้งเหล่านักปราชญ์ในเมืองมะดีนะหฺก็ได้ประกาศต่อต้านลัทธิของ เชค อัลนัจญ์ดี เพราะขัดแย้งกับคำสั่งสอนของอิสลามหลายประการ เมื่อได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่าย เชค อัลนัจญ์ดี ก็ได้ตกลงกับ มุฮัมมัด บุตรซะอูด ในปี ฮ.ศ. 1143 (ค.ศ. 1730) ว่า ผู้ใดที่ไม่ยอมรับลัทธิวะฮาบีย์ เขาก็ไม่ใช่มุสลิมที่แท้จริง เขาเป็นผู้ตั้งภาคี ควรแก่ฆ่าทิ้ง หรือทำสงครามปล้นเอาทรัพย์สินของเขาได้ 7 ปีต่อมา เขาทั้งสองก็ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น จัดทัพออกทำศึกสงครามปล้นสะดมหมู่บ้าน ตำบล และเมือง ที่ไม่ยอมรับลัทธิวะฮาบีย์ ผู้คนที่เข้าลัทธิวะฮาบีย์เรียกกันว่า อัลอิควาน (ภราดร) ปี 1794 และ 1796 พวกวะฮาบีย์โจมตีเริ่มโจมตีคูเวตหลายครั้ง เพื่อยึดเมืองให้ขึ้นกับตระกูลซะอูด
ลัทธิวะฮาบีย์หลังจาก เชค อัลนัจญ์ดีย์ เสียชีวิต
วันที่ 14 พฤษภาคม 1801 กองทัพวะฮาบีย์บุกโจมตีเมืองกัรบะลาอ์ ในอิรัก ฆ่าฟันประชาชนในเมืองล้มตายไปมากมาย นอกจากนี้ยังเข้าลายล้างสุสานของฮุเซน หลานตาศาสนทูต เพื่อโขมยเอาทรัพย์สินที่วางอยู่เหนือสุสานใส่เกวียนพากลับไปดัรอียะหฺ ต่อมาสุสานฮุเซนได้รับการบูรณะซ่อมแซมในวันที่ 21 พฤศจิกายน 1817 โดยกษัตริย์ ฟาติหฺ ชาหฺ กอจาร แห่งอิหร่าน
ในปี 1804 เจ้าชายซะอูดเข้าบุกมะดีนะห์ หลังจากนั้นก็ขยายรัฐวะฮาบีย์ถึงเยเมนและโอมาน 1809 อังกฤษจัดทัพเพื่อช่วยเหลือซะอูด ให้มีอำนาจในอารเบีย ซะอูดคิดที่จะบุกอิยิปต์ ปาชาแห่งอิยิปต์จึงจัดกองทัพบุกอาราจักรของซะอูดก่อน 1812 อิยิปต์ยึดมักกะหฺและมะดีนะหฺได้ ซะอูดตายปี 1814 อับดุลลอห์ ลูกชายกรีฑาทัพบุกเมืองต่าง ๆ อย่างเดิม
หลังจากกองทัพวะฮาบีย์บุกเมืองฏออิฟในปี ฮ.ศ. 1217 (ค.ศ. 1801) และฆ่าฟันผู้คนมากมาย พวกเขาก็เริ่มมีอำนาจในคาบสมุทรอารเบีย ในปีต่อมา พวกเขาจึงได้เข้าเมืองมักกะห์และทำลายอาคารสิ่งก่อสร้างในมัสยิดอัลฮะรอม และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ มักกะหฺ ในสมัยนั้นอยู่ภายใต้อาณาจักรอิสลามอุษมานียะหฺ เมื่อเจ้าชายซะอูดเดินทัพกลับมาถึงบ้านเกิดที่ ดัรอียะหฺ ก็ทราบข่าวว่าพ่อของเขาถูกฆ่าโดยชาวชีอะหฺเป็นการตอบแทนที่ทำไว้ในกัรบะลาอ์ เมื่อปีที่แล้ว
ในปี ฮ.ศ. 1221 (ค.ศ. 1806) กองทัพวะฮาบีย์บุกเข้านครมะดีนะหฺ และได้เข้าถล่มทำลายบรรดาสุสานต่าง ๆและสิ่งก่อสร้างเหนือสุสาน ใน ญันนะตุลบะกีอฺ จนหมดสิ้น โดยทุบทำลายจนเตียนราบ ไม่ให้สิ่งใดหลงเหลือเลย ในจำนวนนั้นมี สุสานของ ฮะซัน บินอะลี หลานตาศาสนทูต สุสานของ อะลีย์ ซัยนุลอาบิดีน เหลนศาสนทูต สุสานของ มุฮัมมัด อัลบากิร และ สุสานญะอฺฟัร อัศศอดิก รวมทั้งสุสานของบุคคลสำคัญของอิสลามในอดีต พวกเขายังต้องการที่จะทำลายสุสานของท่านศาสนทูตด้วย แต่เนื่องจากว่า มีผู้คนต่อต้านอาจจะเกิดจลาจลจึงระงับไม่ให้ปฏิบัติ แต่สั่งให้เปิดสิ่งก่อสร้างที่ครอบสุสาน เพื่อปล้นทรัพย์สมบัติอันเป็นเงินบริสุทธิ์ ทองคำ และอัญมณีนานาชนิด ที่ผู้คนจากทุกสารทิศ นำมาวางตั้งไว้บนสุสาน ภายในเวลาพันกว่าปี เพื่อนำทรัพยสิีนเหล่านั้นเก็บเข้าวังเป็นทรัพย์สินส่วนตัว
ในปีต่อมารัฐวะฮาบีย์ได้ออกกฏหมายห้ามไม่ให้ชาวมุสลิมจากอิรัก ซีเรีย อิยิปต์ เข้าเมืองมักกะหฺ เพราะมีความเห็นว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นกาฟิร เพราะไม่ศรัทธาต่อลัทธิวะฮาบีย์
ในปี 1812 ชาวเมืองมักกะห์ได้ร่วมกันขับไล่พวกวะฮาบีย์ออกจากมักกะหฺ
ทางคอลีฟะห์มะฮฺมูด ที่สอง แห่งอาณาจักรอุษมานียะหฺ เมื่อเห็นว่าพวกวะฮาบีย์กำเริบเสิบสานในคาบสมุทรอารเบีย ทำลายสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เช่นนั้น ก็ได้มีบัญชาถึงอะลีย์ ปาชา เจ้าเมืองอิยิปต์ ให้ส่งกองทัพไปปราบปรามพวกวะฮาบีย์ ในปี 1810 อะลีย์ ปาชาได้บัญชาให้บุตรของตนคือ ตูโสน กรีฑา่ทัพเข้าโจมตีอารเบีย แล้วได้ยกทัพหนุนหลังด้วยตนเอง ในปี 1818 กองทัพวะฮาบีย์ยึดเมืองริยาดได้ จึงสถาปนาริยาดเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรซะอูดีย์-วะฮาบีย์
ได้บัญชาบุตรหัวปีของท่านคือ เจ้าชายอิบรอฮีม ให้กรีฑาทัพเข้าถึงใจกลางอารเบีย โดยอาศัยความช่วยเหลือจากพลเมืองในฮิญาซที่ยังไม่ได้ถูกอำนาจของวะฮาบีย์ครอบงำ จนสามารถขับไล่พวกวะฮาบีย์ออกจากมักกะหฺและมะดีนะหฺได้ และกองทัพยังสามารถเข้าถึง ดัรอียะห์ และจับอับดุลลอห์ ลูกของซะอูดได้ จึงนำตัวเขาและเจ้าชายอื่น ๆ พร้อมกับเหล่าอุลามาอฺของพวกเขาไปไคโร ในจดหมายเหตุอิยิปต์ มีบทบันทึกเกี่ยวกับการสืบสวนเรื่องทรัพย์สมบัติที่ซะอูดขโมยจากสุสานศาสนทูต อับดุลลอห์ได้นำไข่มุกหลายเม็ดและแผ่นทองคำจารึกโองการอัลกุรอานออกจากกล่อง บอกว่าที่เหลือมีเพียงแค่นี้ และตนตั้งใจจะเอาไปถวายคอลีฟะห์ในอิสตันบูล ต่อมาอะลีย์ ปาชา ได้ส่งอับดุลลอห์และพรรคพวกไปกรุงอิสตันบูล ให้คอลีฟะห์ตัดสิน คอลีฟะห์ตัดสิ้นประหารชีวิตพวกนักรบและพวกอุลามาอฺของวะฮาบีย์ทั้งสิ้น กองทัพโจรวะฮาบีก็หมดสิ้นไปชั่วระยะหนึ่ง ทำให้ประชาชนมุสลิมจากทุกสารทิศสามารถเข้าไปทำพิธีฮัจญ์ได้ตามปกติอีกครั้ง
ในปี 1824 ตุรกี บินอับดิลลาห์ ได้ก่อตั้งรัฐซะอูดีย์-วะฮาบีย์อีกครั้ง อิบรอฮีมแห่งอิยิปต์จึงได้กรีฑาทัพอีกครั้งในปี 1836 กองทัพของอิบรอฮีมเข้าประชิดนครริยาดได้ในปีต่อมาและจับกุมตัวผู้นำ คือฟัยศอล บุตรของตุรกี ไปจำคุกในอิยิปต์ แต่หลายปีต่อมาก็ได้ปล่อยฟัยศอลออกมา
ในปีเดียวกันนั้น คอลีฟะหฺอับดุลมะญีด แห่งอาณาจักรอุษมานียะห์ได้มีคำสั่งให้ก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างเหนือสุสานให้มีสภาพคล้ายของเดิม เช่นเดียวกับคอลีฟะห์อับดุลฮะมีด และคอลีฟะหฺมุฮัมมัด ผู้สืบทอดบัลลังก์คนต่อมาก็ได้บูรณะซ่อมแซมสุสานเหล่านั้นอีกเช่นกัน
ในปี 1848 และ 1860 อาณาจักรอุษมานียะหฺ ได้บูรณะซ่อมแซมสถานที่สำคัญที่พวกวะฮาบีย์ทำลายเหล่านั้นอีกครั้ง โดยหมดเงินไปทั้งสิ้น 700,000 ปอนด์ ส่วนใหญ่เป็นเงินบริจาคที่ได้มาจาก สุสานศาสนทูต
15 มกราคม ปี 1902 อับดุลอะซีซ สามารถกู้บัลลังก์ที่เสียไปแก่ตระูกูลอัรรอชีดีย์ จนต้องหนีไปอยู่คูเวตในปี 1891
ในปี ค.ศ. 1912 กลุ่มผู้เคร่งลัทธิวะฮาบีย์ได้ปฏิรูปขบวนการอัลอิควาน (ภราดร) ขึ้น ขบวนการนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเป้าหมายสนับสนุนอับดุลอะซีซ ปีต่อมา กองทัพภราดร จำนวน 1,500 คนนำโดยอับดุลอะซีซเอง ได้เข้าโจมตีกองทัพของอาณาจักรอุษมานยะหฺ ซึ่งมีจำนวน 1,000 คน ที่ ฮูฟูฟ เมืองหลวงของฮะซาอ์ จนกระทั่งสามารถยึดเมืองหลวงนี้ได้ ตั้งแต่นั้นมาขบวนการอัลอิควานก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นมากมายหลายเท่า อับดุลอะซีซได้ออกคำสั่งให้ประชาชนในเขตการปกครองของตน จ่ายซะกาตแก่เขาเท่านั้น
การติดต่อกับเซอร์ เพอร์ซี คอกซ์ (Sir Percy Cox) ที่ อัลอูเกร เดือนพฤศจิกายน 1916 ยังผลให้ อับดุลอะซีซได้เซ็นสัญญาสัมพันธไมตรีกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1916 อังกฤษยอมรับอับดุลอะซีซว่าเป็นสุลต่านแห่งนะญัด เทียมเท่าสุลต่านแห่งอุษมานียะหฺ พร้อมให้ทรัพย์สนับสนุนรายเดือนเป็นทองคำหนัก 5,000 ปอนด์ในแต่ละเดือน พร้อมด้วยอาวุธสงคราม อับดุลอะซีซและพวกวะฮาบีย์กลายเป็นที่เกรงขามของผู้คนในภูมิภาค
อังกฤษได้ส่ง จอห์น ฟิลบี (John Philby) ข้าราชการดูแลอาณานิคมอินเดีย ไปยุยงอับดุลอะซีซ ให้โจมตีเพื่อยึดเมืองฮาอิล ในปี 1918-1919 อับดุลอะซีซพยายามโจมตีแต่ไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตามอังกฤษได้จ่ายค่าตอบแทนภารกิจครั้งนี้ด้วยการให้เงินเดือน ๆ ละ 75,000 รูปี
วันที่ 10 ตุลาคม 1920 กองทัพวะฮาบีย์โจมตีและยึดเมืองอัลญะหฺเราะหฺในคูเวตได้
ปี ค.ศ. 1924 กองทัพวะฮาบีย์ได้บุกเข้าืทำลายสุสานอิมามฮุเซนที่กัรบะลาอ์ในอิรักอีกครั้ง
ในปีเดียวกัน กองทัพวะฮาบีย์ได้บุกเข้าคว้นฮิญาซอีกครั้ง และได้ฆ่าฟันผู้คนล้มตายไปมากมายเป็นพัน พร้อมกับปล้นทรัพย์สินเงินทองของประชาชน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1925 กองทัพวะฮาบีย์บุกโจมตีมหานครมะดีนะหฺ วันพุธ ที่ 21 เมษายน 1925 อับดุลอะซีซ บินซะอูด มีคำสั่งให้ถล่มทำลายสิ่งก่อสร้างและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไปจนหมดสิ้น รวมทั้งมัสยิดของท่านนบีมุฮัมมัด นอกจากนี้ยังได้ทำลายสุสานของฮัมซะหฺ น้านบีมุฮัมมัด ที่อยู่ที่สนามรบอุฮุด รวมทั้งสุสานสาวกท่านอื่น ๆ ที่เสียชีวิตที่นั่น
ปีเดียวกันนั้น บ้านอันเป็นที่เกิดของท่านนบีมุฮัมมัด ก็ถูกถล่มทำลาย พร้อม ๆ กับการทำลายสุสานมุอัลลา อันเป็นสุสานบุคคลสำคัญในอิสลาม ในมหานครมักกะหฺ ในนั้นมีสุสานมารดา ภรรยา และปู่ และบรรบุรุษของท่านศาสนทูต
สุสานของลูกหลานศาสนทูตซึ่งเป็น บุคคลสำคัญในอิสลาม ไม่มีอะไรเหลือ
ในปี 1926 อับดุลอะซีซ สถาปนาตนเองในมัสยิดอัลฮะรอม มักกะหฺ เป็นกษัตริย์ของฮิญาซ
และแล้วความขัดแย้งภายในก็เริ่มบานปลาย ฟัยศอล อัดดุเวช และสุลฏอน บินบีญาด ผู้นำขบวนการอัลอิควานเคยหวังว่าตนจะได้เป็นเจ้าเมืองมักกะหฺและมะดีนะหฺ อันเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติยิ่ง หลังจากที่ได้ช่วยเหลืออับดุลอะซีซขยายอาณาเขต และยึดเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะฮิญาซ ซึ่งเมืองทั้งสองก็อยู่ในแคว้นนี้ ทั้งสองได้รวมหัวกับ ซีดาน บินฮิษลีน ก่อกบฏต่อต้านอับดุลอะซีซ วันที่ 30 มีนาคม 1929 อับดุลอะซีซได้นำพลทหาร 40,000 คนเข้าบดขยี้กองกำลังของพวกอัลอิควานที่สะบาละหฺจนล้มตายมากมายภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง เพราะอับดุลอะซีซได้ใช้ปืนกลจากอังกฤษจำนวน 12 กระบอกยิงกราดใส่
วันที่ 22 กันยายน 1932 อับดุลอะซีซ สถาปนาประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเอาชื่อของบรรพบุรุษตนเป็นชื่อประเทศ และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งซาอุีดีอาระเบีย
ในปี 1933 อับดุลอะซีซ ตั้งซะอูด บุตรชายเป็นมงกุฏราชกุมาร
----------------------------การสะกดอื่น ๆ อัลนัจดีย์, อัลนัจดี, นัจดี, นัจญ์ดี, กอญาร, กอจัร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น